ดูเหมือนว่า ‘MMS Coin’ กำลังเป็นที่พูดถึงเป็นอย่างมาในวงการคริปโต เนื่องจากมี เว็บเทรดชื่อดังหลายๆ เจ้า ได้ออกมาประกาศเตือน และปฏิเสธความข้องเกี่ยวกับมัน แถมยังมีข่าวอีกว่าแพลตฟอร์มดังกล่าวอาจเข้าข่ายขบวนการแชร์ลูกโซ่อีกด้วย
ดูเหมือนว่า ‘MMS Coin’ กำลังเป็นที่พูดถึงเป็นอย่างมาในวงการคริปโต เนื่องจากมี เว็บเทรดชื่อดังหลายๆ เจ้า ได้ออกมาประกาศเตือน และปฏิเสธความข้องเกี่ยวกับมัน แถมยังมีข่าวอีกว่าแพลตฟอร์มดังกล่าวอาจเข้าข่ายขบวนการแชร์ลูกโซ่อีกด้วย ว่าแต่มันคืออะไรกันแน่? ‘Wikibit’ มีคำตอบมาบอก
‘MMS Coin’ หรือ ‘MMS Genius Platform’ ถูกสร้างขึ้นมาจากกลุ่มคนปริศนา ที่มี CEO คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดน่าน พร้อมเปิดให้นักลงทุนได้เข้ามาเก็งกำไร ผ่านการโฆษณาต่างๆ บนโซเชียลมีเดีย โดยมีการพูดถึงสรรพคุณต่างๆ และมีการกล่าวถึงเว็บเทรดชื่อดังในไทยหลายๆ เจ้า อย่าง Bitkub, Satang Pro เป็นต้น เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ
ทั้งนี้ทางเว็บเทรดคริปโตชื่อดัง อย่าง Bitkub ได้ออกมาโพสต์ชี้แจงถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า ตนนั้นไม่มีความเกี่ยวข้อง หรือเป็นผู้สนับสนุนอะไรกับทาง ‘MMS Coin’ แต่อย่างใด และไม่ได้ลิสต์เหรียญดังกล่าวนี้ไว้บนแพลตฟอร์มของตนด้วย
ทางด้านของเว็บเทรดคริปโตอีกเจ้า อย่าง ‘Satang Pro’ ก็ได้ออกมาโพสต์เตือนผู้ใช้ในทำนองเดียวกันว่า ‘MMS Coin’ นั้นได้มีการแอบอ้างใช้ชื่อของ ‘Satang Pro’ ในการโปรโมทเหรียญ และทางบริษัท สตางค์ คอร์ปอเรชั่น ขอแจ้งว่าบริษัทฯ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการดังกล่าว และผู้จัดทำโครงการนี้ไม่เคยติดต่อบริษัทฯ เพื่อขอลิสต์เหรียญบนกระดานแต่อย่างใด
ต่อมาได้มีผู้ใช้งาน ‘Blockdit’ รายหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า ‘เปิดโปงแชร์ลูกโซ่ MMS Genius Platform’ ได้มาตั้งกระทู้เตือนนักลงทุนว่า ให้ระวังแพลตฟอร์มดังกล่าวไว้ เนื่องจากมีลักษณะที่เข้าข่ายกระบวนการแชร์ลูกโซ่
เริ่มจากการกล่าวถึงข้อเท็จจริงต่างๆ จากการวิเคราะห์ที่นักลงทุนหลายรายอาจยังไม่ทราบตั้งแต่การนำผลงาน รูป ข้อความ ที่ทาง ‘MMS Coin’ นั้นได้โฆษณาเชิญชวน มาพูดกล่าวว่ามันเป็นการก๊อปปี้มาจากโฆษณาของเว็บเทรดในต่างประเทศ เช่น ‘MMS Coin’ เหรียญเพิ่มมูลค่า ราคาไม่มีตก เป็นต้น
นอกจากนี้ยังได้มีการจับผิดหน้าหน้าตาเว็บไซต์ของแพลตฟอร์มดังกล่าว และพบว่าส่วนใหญ่มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับเว็บไซต์คริปโตชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ประโยคต่างๆ แถมยังมีโมเดลสร้างรายได้เป็นแบบ Binary เป็นชั้นๆ และเคลมด้วยว่าหากนักลงทุนจ่ายค่าสมัครครั้งเดียว รับรายได้ไปตลอดอีกด้วย ซึ่งแทบจะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย
ทั้งนี้เจ้าของโพสต์ยังได้สรุปเนื้อหาแบบเข้าใจง่าย เพื่อเตือนภัยให้กับนักลงทุนว่าทำไม ‘MMS Coin’ ถึงเข้าข่ายการแชร์ลูกโซ่ ดังนี้
1. CEO เป็นผอ.โรงเรียน จ.น่าน มีความรู้เรื่อง Blockchain มั้ย? พอรึเปล่า?
2. ขนาดเว็บไซต์ ยังก๊อปปี้เขามา แล้วคิดว่าจะเป็น Platform เปลี่ยนโลก มันใช่หรอ ?
3. กราฟิกเหมือนคนแก่ทำ เน้นอ่านง่าย ขายชาวบ้าน
4. เว็บไซต์เน้นภาษาอังกฤษ ลองไปเล่นดู แล้วคุณจะรู้ว่า ไม่มีอะไรเลย ขนาด Navigator Bar แทบด้านบน กดแล้วไปไหนไม่ได้
5. เอาเทคโนโลยี มาบังหน้า เบื้องหลังคือ แชร์ลูกโซ่
-ปัก pin
-ต้องมีการแนะนำ
-แผนผัง ลำดับขั้น binary
6. คุณคิดว่าเขา มีศักยภาพจะเอาเหรียญขึ้นกระดานเทรดหรอ? ก็เห็นๆ อยู่ว่า เว็บไซต์ยังก๊อปเขามา ทำอะไรไม่เป็นเลย!!
นี่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่ทาง ‘Wikibit’ รวบรวมมาเล่า เพื่อให้คุณได้มองเห็นภาพรวมต่างๆ ของ ‘MMS Coin’ ว่ามันมีความน่าเชื่อถือพอที่จะให้นักลงทุนนำเงินไปลงทุนหรือไม่ ดังนั้นนักลงทุนควรระมัดระวังและตัดสินใจอย่างรอบคอบก่อนลงทุนในแพลตฟอร์มดังกล่าว ซึ่งก่อนลงทุนในคริปโตทุกครั้งอย่าลืมเข้ามาตรวจสอบข้อมูลในแอป ‘Wikibit’ ให้ดีก่อนเสมอ แถมตัวแอปยังได้รวบรวมข่าวสารดีๆ เกี่ยวกับกลโกงในวงการคริปโตไว้ให้คุณได้เสพเพื่อเสริมความรู้เท่าทันอีกด้วย ดังนั้นโหลดไว้สะ จะได้ไม่พลาดถูกโกง!!
แอปพลิเคชั่น ‘Wikibit’ เป็นแอปที่คุณสามารถใช้ตรวจสอบ ‘แอปเทรดคริปโต’ ‘เหรียญคริปโต’ และ ‘DeFi’ ได้อย่างสะดวกสบาย เพียงแค่กดค้นหาเท่านั้น ข้อมูลที่คุณควรรู้ก็จะปรากฏขึ้นมาแบบครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น คะแนนความน่าเชื่อถือจากแอป ใบอนุญาต ข้อมูลโครงการ การเยี่ยมชมจากเจ้าหน้าที่เพื่อยืนยันการมีอยู่ของบริษัทนั้น ‘Whitepaper’ แถมตัวแอปยังมีการอัปเดตข้อมูลข่าวสาร และรูปแบบกลโกงในวงการคริปโตไว้ให้คุณได้ศึกษาอีกด้วย ถือว่าครบจบในแอปเดียว โหลดเลย!!
ติดตามข้อมูลข่าวสารวงการคริปโต พร้อมตรวจสอบ Exchange ทั่วโลก รวบรวมข้อมูล Shitcoin และโครงการเถื่อน ได้ที่….
App : “WikiBit” (ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ ฟรี!)
Facebook : https://www.facebook.com/Wikibit.th/ (กด SEE FRIST เพื่อที่คุณจะไม่พลาดข่าวสาร และกิจกรรมต่างๆ จากทางเพจ)
ขอขอบคุณข้อมูลข่าวสารจาก : เจ้าของโพสต์ใน Blockdit / Siamblockchain
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
North Korean Malware Targets macOS Users by Evading Apple Notarization
Thune helped cosponsor a crypto bill in 2022 called the Digital Commodities Consumer Protection Act
DeltaPrime Protocol Attacked on Arbitrum and Avalanche, Resulting in $4.8 Million Loss
Polymarket Founder Raided by FBI After Trump Win, Company Says
0.00