คริปโต ‘สายฟาร์ม’ ช่วงนี้คงกำลังหวั่นใจ เพราะมีข่าวฉาวเกี่ยวกับกลโกงในวงการ ‘DeFi’ ออกมามาก ดังนั้นบทความนี้ทาง ‘Wikibit’ จะมาชี้ทางออกในการเลือกแพลตฟอร์ม ‘DeFi’ สำหรับสายฟาร์ม ก่อนเลือกลงทุนมาฝาก
คริปโต ‘สายฟาร์ม’ ช่วงนี้คงกำลังหวั่นใจ เพราะมีข่าวฉาวเกี่ยวกับกลโกงในวงการ ‘DeFi’ ออกมามาก ส่งผลให้เกิดความกังวลว่าควรลงทุนในแพลตฟอร์มไหนถึงจะปลอดภัย ดังนั้นบทความนี้ทาง ‘Wikibit’ จะมาชี้ทางออกในการเลือกแพลตฟอร์ม ‘DeFi’ สำหรับสายฟาร์ม ก่อนเลือกลงทุนมาฝาก
1. ให้ดูที่ TVL หรือจำนวนฝากในระบบ
การเลือกแพลตฟอร์ม ‘DeFi’ ทุกครั้ง ควรดูที่ TVL (Total Value Locked) หรือจำนวนเงินที่ฝากในระบบ ซึ่งควรมีไม่ต่ำกว่า 100 - 1,000 ล้านดอลลาร์ขึ้นไป เพราะเงินยิ่งมากยิ่งหมายความว่ามีผู้ลงทุนมากที่จะเข้ามาช่วยกันตรวจสอบแพลตฟอร์มนี้ แถมยังสะท้อนถึงความน่าเชื่อถือให้กับแพลตฟอร์มนั้นๆ เพราะชี้ให้เห็นว่าคนมั่นใจจึงกล้านำเงินมาฝากอีกด้วย
2. ทีมพัฒนาต้องปัง
ก่อนจะลงทุนในแพลตฟอร์มนั้น ควรเข้าไปศึกษา และดูทีมพัฒนาแพลตฟอร์มให้ดี ว่ามีความปังแค่ไหน มีชื่อเสียงและมีความน่าเชื่อถือมากพอหรือเปล่า ซึ่งในโลกของ ‘DeFi’ นั้น ส่วนใหญ่มักจะไม่เปิดเผยตัวตน และมักจะอ้างเหตุผลว่า “ขนาดผู้ที่สร้าง ‘Bitcoin’ ขึ้นมายังไม่เคยเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงเลย” ดังนั้นหากเจอแพลตฟอร์มที่กล่าวแบบนี้ ให้ข้ามไปก่อน เอาเจ้าที่ยินดีในการเปิดเผยตัวตนจะสบายใจกว่า
3. พาร์ตเนอร์เป็นใครตรวจสอบให้ดี
ต่อมา คือ การตรวจสอบพาร์ตเนอร์หรือกลุ่มผู้ลงทุนในโปรเจกต์นั้นๆ ว่ามีความน่าเชื่อถือแค่ไหน มีอะไรมาซัพพอร์ตเราได้บ้าง เช่น แพลตฟอร์มที่คนนิยมฟาร์มกันอย่าง ‘PancakeSwap’ มีผู้สนับสนุนคือ ‘Binance’ หรือ ‘Uniswap’ ก็มีผู้ให้การสนับสนุนคือ ‘Coinbase’ ที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ เป็นต้น
4. มี Audit หรือเปล่า?
ในโลกของ ‘DeFi’ เราเชื่อว่าส่วนใหญ่ไม่มีใครที่อ่านโค้ดของ ‘Smart Contract’ เป็นแน่นอน ทำให้มีบริษัทที่รับตรวจสอบขึ้นมา ดังนั้นหากมี Audit Company เหล่านี้เข้าตรวจสอบก็จะสามารถเพิ่มความมั่นใจให้กับคุณได้ในระดับหนึ่ง ย้ำอีกครั้ง แค่ในระดับหนึ่งเท่านั้น
5. ดูระยะเวลา และประวิติให้ดี
ขนาดสมัครงาน บริษัทหลายๆ แห่ง ยังถามหาประสบการณ์ในการทำงานเลย จึงไม่ต่างกันหากเราจะเลือกแพลตฟอร์ม ‘DeFi’ ดีๆ ในการลงทุนก็ควรที่จะดูระยะเวลาในการเปิดให้บริการของแพลตฟอร์มนั้นๆ ด้วย เพราะยิ่งเปิดมานานมากเท่าไหร่ มันก็จะสะท้อนความน่าเชื่อถือมากเท่านั้น และยิ่งไม่เคยมีประวัติถูกแฮกมาก่อนแล้วละก็ยิ่งดี
6. เช็คข้อมูลภาพรวมจากเว็บไซต์ หรือแอป ‘Wikibit’
ถ้าหากคุณรู้สึกว่าการตรวจสอบเองทั้งหมดเป็นเรื่องที่ยาก สามารถเข้ามาดูข้อมูลภาพรวมของแพลตฟอร์ม ‘DeFi’ ที่คุณสนใจได้ที่เว็บไซต์ หรือแอป ‘Wikibit’ เพราะเรามีทีมงานคอยตรวจสอบข้อมูลให้คุณแบบเบื้องต้นแล้ว บอกได้เลยว่าสะดวกสบาย ง่ายๆ ในที่เดียว ยกตัวอย่างเช่น ‘PancakeSwape’ เป็นแพลตฟอร์ม ‘DeFi’ เกรด AAA ที่ได้รับคะแนนจากแอปอยู่ที่ 4.27 ทั้งนี้ยังมีข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจ รอให้คุณเขาไปตรวจสอบมันอีกมากมาย
หากคุณหยิบยกทริคทั้ง 6 ข้อนี้ มาใช้พิจารณาก่อนเลือกแพลตฟอร์มในการฟาร์มแล้วละก็ รับรองคุณจะสามารถลงทุนได้อย่างอุ่นใจมากขึ้น และอย่าลืมโหลดแอป ‘Wikibit’ ไว้บนมือถือ เพราะนอกจากมันจะใช้ตรวจสอบแพลตฟอร์มโครงการ ‘DeFi’ ได้แล้ว มันยังสามารถใช้ตรวจสอบ ‘แอปเทรดคริปโต’ และ ‘เหรียญคริปโต’ อื่นๆ ได้อีกด้วย แถมตัวแอปยังได้ทำการรวบรวมข่าวสาร สาระความรู้ กลโกงต่างๆ ในวงการคริปโต และ ‘DeFi’ ไว้ให้คุณได้ศึกษาอย่างเต็มที่
ทุกๆ รูปแบบกลโกงที่เกิดขึ้น ทุกๆ สาระความรู้ที่ควรศึกษา และทุกๆชุดข้อมูลที่ควรตรวจสอบ เรารวบรวมมันไว้ให้คุณแล้วที่ แอปพลิเคชั่น ‘Wikibit’ แอปที่คุณสามารถใช้ตรวจสอบ ‘แอปเทรดคริปโต’ ‘เหรียญคริปโต’ และ ‘DeFi’ ได้อย่างสะดวกสบาย เพียงแค่กดค้นหาเท่านั้น ข้อมูลที่คุณควรรู้ก็จะปรากฏขึ้นมาแบบครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น คะแนนความน่าเชื่อถือจากแอป ใบอนุญาต ข้อมูลโครงการ การเยี่ยมชมจากเจ้าหน้าที่เพื่อยืนยันการมีอยู่ของบริษัทนั้น ‘Whitepaper’ แถมตัวแอปยังมีการอัปเดตข้อมูลข่าวสาร และรูปแบบกลโกงในวงการคริปโตไว้ให้คุณได้ศึกษาอีกด้วย โหลดไว้ จะได้ลงทุนได้อย่างสบายใจ ไม่ถูกโกง!!
ติดตามข้อมูลข่าวสารวงการคริปโต พร้อมตรวจสอบ Exchange ทั่วโลก รวบรวมข้อมูล Shitcoin และโครงการเถื่อน ได้ที่….
App : “WikiBit” (ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ ฟรี!)
Facebook : https://www.facebook.com/Wikibit.th/ (กด SEE FRIST เพื่อที่คุณจะไม่พลาดข่าวสาร และกิจกรรมต่างๆ จากทางเพจ)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : thestandard
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
9.64
9.59
North Korean Malware Targets macOS Users by Evading Apple Notarization
Thune helped cosponsor a crypto bill in 2022 called the Digital Commodities Consumer Protection Act
DeltaPrime Protocol Attacked on Arbitrum and Avalanche, Resulting in $4.8 Million Loss
Polymarket Founder Raided by FBI After Trump Win, Company Says
0.00
orionx
Bitcoin.com
ACY SECURITIES
BETONLINE
FTX US
Fondex
OKCOIN JAPAN
CEX.IO
Ulian
axi