‘เงินบาทดิจิทัล’ นั้นมีความแตกต่างจาก ‘เงินอิเล็กทรอนิกส์’ ที่เราใช้กันทั่วไปอย่างไร?” ดังนั้นบทความนี้ ‘Wikibit’ จะมาตอบคำถามข้างต้นแบบเข้าใจง่ายๆ
ตอนนี้ได้มีคำถามในกลุ่มนักเทรดคริปโต ที่น่าสนใจมากๆ อยู่หนึ่งคำถาม นั่นก็คือ “ ‘เงินบาทดิจิทัล’ นั้นมีความแตกต่างจาก ‘เงินอิเล็กทรอนิกส์’ ที่เราใช้กันทั่วไปอย่างไร?” ดังนั้นบทความนี้ ‘Wikibit’ จะมาตอบคำถามข้างต้นแบบเข้าใจง่ายๆ เพื่อไขข้อสงสัยให้กับนักลงทุนเอง
เริ่มแรกเรามารู้จักกับ ‘เงินอิเล็กทรอนิกส์’ หรือ ‘E - Money’ กันก่อนดีกว่า โดยเจ้าเงินตัวนี้ ถือว่าเป็นเงินที่ธนาคารให้การยอมรับว่าเป็นมูลค่าเงินที่ถูกบันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์ที่ถูกฝังชิพบนบัตรพลาสติก หรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ แอปพลิเคชัน กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ และอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เพื่อให้ง่ายต่อการทำธุรกรรม ซึ่งมาพร้อมกับค่าธรรมเนียม และการดำเนินการผ่านตัวกลางอย่าง ธนาคารพาณิชย์ หรือบัตรเครดิตนั่นเอง
ต่อมา ‘เงินดิจิทัล’ หรือ ‘คริปโตเคอเรนซี่’ คือ ‘เงินเสมือนจริง’ ที่ใช้ในการเข้ารหัส เพื่อเพิ่มความปลอดภัย ไม่สามารถปลอมแปลง หรือทำซ้ำได้ ซึ่งมันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเพิ่มอิสระในการทำธุรกรรม สามารถลดข้อจำกัดของการใช้เงินสดได้ และลดข้อจำกัดในการทำธุรกรรมที่ ‘เงินอิเล็กทรอนิกส์’ สร้างไว้ โดยดำเนินการบนเทคโนโลยีแบบกระจายศูนย์ (DLT) หรือระบบ ‘Blockchain’ ซึ่งส่งผ่านมูลค่าระหว่างกันโดยไม่มีตัวกลาง ต้นทุนหรือค่าธรรมเนียมต่ำ ผู้ใช้เข้าถึงง่ายในทุกที่ทุกเวลา แต่ข้อเสียก็คือ มันกลับยังไม่ได้รับการรองรับจากธนาคารกลาง และถูกมองว่ามันจะเข้ามาทำลายเสถียรภาพระบบการเงินภายในประเทศ
ทั้งนี้ด้วยความปังปูริเย่ของ ‘เงินดิจิทัล’ ทางธนาคารกลางจึงไม่ได้ทอดทิ้งแนวคิดเหล่านี้ไปให้เสียเปล่า แต่กลับนำมันมาพัฒนาให้กลายเป็น ‘เงินดิจิทัล’ ที่ออกโดยธนาคารกลางของประเทศอย่าง ‘CBDC’ โดยของประเทศไทยนั้นมาในนามของ ‘เงินบาทดิจิทัล’ ที่มีรูปแบบการทำงานคล้ายคลึงกับ ‘เงินดิจิทัล’ ทั่วไป เพียงแต่ได้การรองรับ และอยู่ในความดูแลของธนาคารกลาง แถมยังมีการต่อยอดในการโอนเงินข้ามพรมแดนได้ และไม่ทำลายเสถียรภาพระบบการเงินภายในประเทศอีกด้วย
สรุปแล้ว ถ้าถามว่า ‘เงินบาทดิจิทัล’ ต่างจาก ‘เงินอิเล็กทรอนิกส์’ ที่เราใช้กันทั่วไปอย่างไร คำตอบแบบง่ายๆ ก็คือ มันทำงานบนระบบ‘Blockchain’ ไม่ผ่านตัวกลาง มีความรวดเร็ว ต้นทุนต่ำ เข้าถึงง่าย และอยู่ในความดูแลของธนาคารกลาง ซึ่งตรงกันข้ามกับ ‘เงินอิเล็กทรอนิกส์’ ตามข้อมูลข้างต้นนั่นเอง ทั้งนี้คุณสมบัติพิเศษของ ‘เงินบาทดิจิทัล’ นั้นมันยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด เนื่องจากมันอยู่ในขั้นตอนระหว่างการทดลอง และปรับปรุงให้ตอบโจทย์กับพฤติกรรมการใช้เงินของคนไทยมากที่สุด ซึ่งผลจะออกมาเป็นอย่างไรนั้นเราคงต้องติดตามกันต่อไป
ต่อมาเรามาดูความคิดเห็นของนักลงทุนที่เข้ามาตอบคำถามใต้โพสต์นี้กันดีกว่า โดยส่วนใหญ่นั้นตอบว่า ต่างกันที่ ‘เงินบาทดิจิทัล’ ทำงานบน ‘Blockchain’ ไม่ได้อยู่บนเซิร์ฟเวอร์ของธนาคารอย่าง ‘เงินอิเล็กทรอนิกส์’ แถมข้อมูลการทำธุรกรรมยังสามารถตรวจสอบ ซึ่งต่างจากอีกเจ้าที่ยากต่อการตรวจสอบนั้นเอง
อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นเงินแบบไหนก็มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนั้นคุณควรศึกษาลักษณะของรูปแบบเงินนั้นๆ ให้ดีก่อนใช้งาน หรือถ้าหากคุณสนใจที่จะลงทุนเทรดใน ‘เงินดิจิทัล(คริปโต)’ แล้วละก็ อย่าลืมโหลดแอป ‘Wikibit’ ติดมือถือไว้ เพื่อใช้มันตรวจสอบข้อมูลต่างๆ อย่าง ‘แอปเทรดคริปโต’ ‘เหรียญคริปโต’ และ ‘DeFi’ ก่อนตัดสินใจลงทุน แถมตัวแอปยังมีการอัปเดตข่าวสาร สาระความรู้ และรูปแบบกลโกงต่างๆ ไว้ให้คุณได้ศึกษา จะได้พลาดท่าถูกโกงอีกด้วย
แอปพลิเคชั่น ‘Wikibit’ เป็นแอปที่คุณสามารถใช้ตรวจสอบ ‘แอปเทรดคริปโต’ ‘เหรียญคริปโต’ และ ‘DeFi’ ได้อย่างสะดวกสบาย เพียงแค่กดค้นหาเท่านั้น ข้อมูลที่คุณควรรู้ก็จะปรากฏขึ้นมาแบบครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น คะแนนความน่าเชื่อถือจากแอป ใบอนุญาต ข้อมูลโครงการ การเยี่ยมชมจากเจ้าหน้าที่เพื่อยืนยันการมีอยู่ของบริษัทนั้น ‘Whitepaper’ แถมตัวแอปยังมีการอัปเดตข้อมูลข่าวสาร และรูปแบบกลโกงในวงการคริปโตไว้ให้คุณได้ศึกษาอีกด้วย ถือว่าครบจบในแอปเดียว โหลดเลย!!
ติดตามข้อมูลข่าวสารวงการคริปโต พร้อมตรวจสอบ Exchange ทั่วโลก รวบรวมข้อมูล Shitcoin และโครงการเถื่อน ได้ที่….
App : “WikiBit” (ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ ฟรี!)
Facebook : https://www.facebook.com/Wikibit.th/ (กด SEE FRIST เพื่อที่คุณจะไม่พลาดข่าวสาร และกิจกรรมต่างๆ จากทางเพจ)
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
0.00