เจาะลึก ‘Decentralized Finance’ อนาคตโลกการเงินที่อาจมาล้มล้างระบบ ‘ธนาคาร’

เจาะลึก ‘Decentralized Finance’ อนาคตโลกการเงินที่อาจมาล้มล้างระบบ ‘ธนาคาร’ WikiBit 2021-09-30 16:37

"DeFi" ระบบการเงินไร้ตัวกลาง ที่ขึ้นชื่อว่าอาจเกิดมาเพื่อฆ่า ‘ธนาคาร’ 2021 ยุคแห่งการปฏิวัติ “ระบบการเงิน” เมื่อเทคโนโลยีถูกพัฒนาเต็มขั้น ระบบ Blockchain จึงถูกนำมาใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์และให้บริการทางการเงินรูปแบบต่าง ๆ

  2021 ยุคแห่งการปฏิวัติ “ระบบการเงิน” เมื่อเทคโนโลยีถูกพัฒนาเต็มขั้น ระบบ Blockchain จึงถูกนำมาใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์และให้บริการทางการเงินรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “DeFi” ระบบการเงินไร้ตัวกลาง ที่ขึ้นชื่อว่าอาจเกิดมาเพื่อฆ่า ‘ธนาคาร’

  คุณอาจต้องลบภาพการเดินไปทำธุรกรรมต่าง ๆ ที่ธนาคารแบบเดิม ๆ เพราะตอนนี้เป็นยุคของ ‘DeFi’ หรือ (Decentralized Finance) เทคโนโลยีที่ทำให้เรื่องการทำธุรกิจเกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน และปันผลดอกเบี้ยเป็นไปได้ง่ายขึ้น ได้เยอะขึ้น โดยไม่ต้องมีตัวกลางอย่างสถาบันการเงินแบบในอดีต

  DeFi คือการเปลี่ยนตัวเองให้เป็นสถาบันการเงินแบบเปิด เป็นระบบการเงินที่ไม่มีตัวกลางมาคอยควบคุม โดยการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้สำหรับรองรับสกุลเงินแบบ Cryptocurrency สำหรับ DeFi จะถูกสร้างบนระบบนิเวศน์ของ Ethereum ถึงแม้จะไม่มีตัวกลางมาคอยควบคุม แต่ทุกธุรกรรมจะต้องดำเนินการผ่าน Smart Contract หรือสัญญาซื้อขายเงินดิจิทัล ข้อดีการใช้ Smart Contract คือ ไม่ว่าใครก็จะไม่สามารถแก้ไข หรือปลอมแปลงข้อมูลในธุรกรรมที่เกิดขึ้นได้

  DeFi นั้น เราสามารถเข้าไปลงทุน ปล่อยกู้สินทรัพย์ดิจิทัล หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลด้วยเงินเพียงหลักร้อยก็ทำได้ ซึ่งการเงินบนโลกของ DeFi ค่อนข้างมีอิสระมากกว่าการทำธุรกรรมกับธนาคารแบบดั้งเดิม ซึ่งเราสามารถเปิด Account หรือเปิด Wallet เป็นของตัวเองได้เลยโดยไม่มีใครเข้ามาแทรกแซงหรืออยู่ภายใต้การควบคุมจากสถาบันการเงิน

  DeFi มีผลตอบแทนค่อนข้างดีกว่าการนำเงินไปฝากที่ธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยต่อปีเพียง 0.5% - 0.75% ซึ่งเป็นเพราะแพลตฟอร์มแบบ Decentralized Finance ถูกออกแบบให้ปันผลกับ User โดยอัตโนมัติแบบไร้คนควบคุมและไร้ตัวกลาง รายได้ที่เก็บจากค่าธรรมเนียมจะถูกนำมากระจายให้กับ User ที่เข้าร่วมกับแพลตฟอร์ม โดยผลตอบแทนที่นำมาปันผลนั้นจะไม่มีตัวกลางเก็บเข้าประเป๋าของตัวเอง แตกต่างจากระบบธนาคารที่สร้างรายได้จากการดำเนินงาน ซึ่งดอกเบี้ยที่ธนาคารได้จากการปล่อยกู้ถือว่าเป็นหนึ่งในรายได้หลักของธนาคารเหมือนกัน ระบบการสร้างผลตอบแทนแบบ DeFi สามารถดึงดูดผู้คนให้เข้ามาใช้แพลตฟอร์มกันมากขึ้นเพื่อรับผลตอบแทนแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย และสร้าง Passive Income ได้

  เพื่อให้เห็นภาพวิธีการให้บริการของ DeFi ชัดเจนขึ้น เราจะขอยกตัวอย่างจากผู้ให้บริการชั้นนำที่มีมูลค่าเงินในระบบแตะหลัก 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อย่าง ‘Compound’

  Compound คือผู้ให้บริการ DeFi Lending Platform ที่ใช้ Smart Contract ดำเนินกระบวนการจัดการและจัดเก็บเงินทุนบน Platform โดยการทำงานของ Compound คือเมื่อมีการฝาก Crypto เข้าไป ระบบจะเปลี่ยนเหรียญดังกล่าวเป็น cToken เช่น หากมีการฝาก ETH ก็จะเปลี่ยนเป็น cETH โดยมูลค่าของ cToken จะอ้างอิงกับราคาแลกเปลี่ยนระหว่าง cToken โดยทุกการแลกเปลี่ยนจะมีมูลค่าเพิ่มเป็นดอกเบี้ยให้กับผู้ถือ cToken

  ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยเงินฝากหรือกู้ยืมจะขึ้นอยู่กับความต้องการและปริมาณเงินที่มีอยู่ในระบบช่วงนั้น ๆ ซึ่งอัตราอาทิ ดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับ Stablecoin ณ ขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 5% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมอยู่ที่ 7% ต่อปี ให้ต่างจากระบบธนาคารในปัจจุบันอย่างมาก

  อย่างไรก็ตาม DeFi ก็ยังถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่มาก ยังมีความเสี่ยงสูง นักลงทุนมีความเสี่ยงที่ platform ที่ใช้บริการจะถูกโจมตีโดยใช้ช่องโหว่ของ Protoco ไม่ว่าจะเป็นการ Hack หรือถูก Economic Attack จนทำให้ได้รับความเสียหายจากมูลค่าของเหรียญ และอาจสูญเสียความเชื่อมั่นของ Platform ไปจนทำให้ราคาเหรียญไม่อาจกลับมาได้อีกเลย

  อาทิ กรณีโปรเจ็กต์ DeFi โปรเจ็กต์หนึ่งที่มีชื่อว่า DeFi100 ซึ่งเป็นหนึ่งแพลตฟอร์ม DeFi ที่อยู่บนระบบบล็อกเชนของไบแนนซ์ โดยเปิดให้นักลงทุนเข้าไปทำฟาร์มเหรียญคริปโตได้ แต่สุดท้ายก็ประกาศ exit scam หรือปิดโครงการทิ้ง พร้อมเชิดเงินนักลงทุนไป 32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1,000 ล้านบาท ทั้งยังทิ้งข้อความเอาไว้ซึ่งแปลอย่างสุภาพได้ว่า “เราโกงพวกคุณ และพวกคุณก็ทำอะไรไม่ได้หรอก”

  ขณะที่ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา Poly Network แพล็ตฟอร์ม DeFi ชื่อดัง ก็เพิ่งสูญเสียเงินในระบบไปกว่า 600 ล้านเหรียญสหรัฐหรือกว่า 2 หมื่นล้านบาท จากการถูกแฮ็กเกอร์โจมตีผ่านช่องโหว่ในระบบ ซึ่งเป็นการขโมยเงินดิจิตอลครั้งที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา

  DeFi เป็นทางเลือกใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูง แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงสูงเช่นกัน WikiBit จึงอยากเป็นส่วนหนึ่งที่จะลดความเสี่ยงลงให้น้อยที่สุด โดยให้บริการตรวจสอบข้อมูลโครงการ DeFi, แอปเทรดคริปโต หรือเหรียญคริปโต ซึ่งทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่ไปค้นหาชื่อเหล่านั้นบนแอป ก็จะพบคะแนนความน่าเชื่อถือ ใบอนุญาต ข้อมูลโครงการ และยังมีการอัปเดตข้อมูลข่าวสาร และรูปแบบกลโกงในวงการคริปโตไว้ให้คุณได้ศึกษาอีกด้วย ถือว่าครบจบในแอปเดียว โหลดเลย!!

  แอปพลิเคชั่น ‘Wikibit’ มีฟีเจอร์โดนๆ สำหรับนักลงทุน อย่าง การตรวจสอบ Exchange และ Token เพื่อช่วยให้การตัดสินใจในการลงทุนของคุณนั้นง่ายขึ้น เพียงแค่คุณกดค้นหาเท่านั้น ข้อมูลที่คุณควรรู้ก็จะปรากฏขึ้นมาแบบครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น คะแนนความน่าเชื่อถือจากแอป ใบอนุญาต ข้อมูลโครงการ การเยี่ยมชมจากเจ้าหน้าที่เพื่อยืนยันการมีอยู่ของบริษัทนั้นตามที่ได้แจ้งข้อมูลกับทาง ก.ล.ต. เพื่อขอใบอนุญาต ถือว่าครบจบในแอปเดียว อย่ารอช้าโหลดเลย!

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:

มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ

Exchange ที่เกี่ยวข้อง
COMP
COMP
คะแนนชื่อเสียง
Compound | 5-10ปี
  • แปลงโทเค็น
  • การแปลงอัตราแลกเปลี่ยน
  • การคำนวณอัตราแลกเปลียน
/
ชิ้น
อัตราแลกเปลี่ยนในขณะนี้
จำนวนเงินที่สามารถแลกได้

0.00