ในรายงานความมั่นคงทางการเงินทั่วโลกประจำปี 2564 International Monetary Fund หรือ IMF กล่าวว่า แม้ปัจจุบัน cryptocurrency จะยังไม่เป็นภัยคุกคามต่อระบบการเงินระหว่างประเทศ แต่ “ความเสี่ยงนี้ควรได้รับการตรวจสอบอย่างใกล้ชิด
ในรายงานความมั่นคงทางการเงินทั่วโลกประจำปี 2564 International Monetary Fund หรือ IMF กล่าวว่า แม้ปัจจุบัน cryptocurrency จะยังไม่เป็นภัยคุกคามต่อระบบการเงินระหว่างประเทศ แต่ “ความเสี่ยงนี้ควรได้รับการตรวจสอบอย่างใกล้ชิด เนื่องจากกรอบการปฏิบัติงานและกฎระเบียบทั่วไปอาจยังไม่เพียงพอในเขตอำนาจศาลส่วนใหญ่” เพื่อแก้ไขความไม่เพียงพอเหล่านั้น IMF ได้เรียกร้องให้มี “มาตรฐานระดับโลกสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัล โดยเชื่อว่าการทำเช่นนั้นจะสามารถช่วยป้องกัน ”ความเสี่ยง ที่แพร่ไปสู่ตลาดอื่น ๆ ได้
ในวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา IMF ได้เผยแพร่บทความรายงานถึงความเสี่ยงที่อุตสาหกรรมคริปโตอาจกลายเป็นภัยคุกคามต่ออุตสาหกรรมทางการเงินทั่วไป โดยบทความนี้เขียนถูกโดยเจ้าหน้าที่ของ IMF 3 คน ได้แก่ Dimitris Drakopoulos, Fabio Natalucci และ Evan Papageorgiou ซึ่ง 2 คนเป็นมีตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูง และอีกหนึ่งคนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินอาวุโส โดยบทความนี้ได้ชี้ไปถึงผลกระทบของคริปโตและปัญหาต่าง ๆ ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขในปัจจุบัน
เมื่อพูดถึงความเสี่ยงของผู้บริโภคนั้น IMF ระบุว่า ปัญหาการล่มของเว็บเทรดคริปโตในช่วงที่ตลาดผันผวนอย่างหนักนั้นอาจไม่ได้ก่อนให้เกิดผลกระทบเชิงลบชัดเจน แต่ในอนาคตปัญหานี้จะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามการเติบโตของตลาดคริปโต อย่างเช่นก่อนหน้านี้ที่ ส.ส.สหรัฐ Elizabeth Warren ก็เคยได้ออกมากล่าววิพากษ์วิจารณ์เว็บเทรดระดับโลกอย่าง Coinbase (NASDAQ:COIN) ที่ผู้ใช้งานไม่สามารถเข้าถึงเงินของพวกเขาในแพลตฟอร์มได้ในขณะที่ตลาดกำลังเกิดความผันผวนสูง ในขณะที่เรื่องของอาชญากรรมทางไซเบอร์, การหลบหนีภาษี และการใช้พลังงาน ก็เป็นหัวข้อสำคัญที่ IMF กังวลอยู่เช่นกัน รวมไปถึงในเรื่องของระบบทางการเงิน ที่ทาง IMF มองว่าการเติบโตของเหรียญคริปโตกลุ่ม ‘Stablecoin’ นั้นอาจกลายมาเป็นต้นตอของปัญหาต่าง ๆ ที่จะตามมาในระบบทางการเงิน
นอกจากนี้ การย้ายอพยพเหมืองขุด crypto ออกจากจีนไปยังตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ อาจสร้างผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการใช้พลังงานของประเทศนั้น ๆ ด้วย สุดท้ายนี้ IMF ได้ร้องขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการป้องกันการฉวยโอกาสจากความแตกต่างของมาตรการกำกับดูแล เนื่องจากธรรมชาติของคริปโตที่ไม่มีพรมแดนเป็นอุปสรรค ดังนั้นผู้ร่างกฎหมายต่าง ๆ ก็ควรจะต้องคำนึงถึงเรื่องการประสานงานข้ามพรมแดนเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น และยกระดับการกำกับดูแลและการบังคับใช้ของข้อกฎหมายให้มากยิ่งขึ้น
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
Thune helped cosponsor a crypto bill in 2022 called the Digital Commodities Consumer Protection Act
North Korean Malware Targets macOS Users by Evading Apple Notarization
DeltaPrime Protocol Attacked on Arbitrum and Avalanche, Resulting in $4.8 Million Loss
Polymarket Founder Raided by FBI After Trump Win, Company Says
0.00