ธปท.เร่งพัฒนาโครงการ CBDC สำหรับภาคประชาชน คาดเปิดทดลองในวงจำกัดได้ปลายปี 2565 หวังช่วยลดต้นทุน ต่อยอดบริการทางการเงินได้ ไม่หวังแข่งขันทดแทน คริปโทเคอร์เรนซี ชี้ CBDC สามารถนำมาเป็นสื่อกลางชำระเงินได้ ปลอดภัยสูง มูลค่าไม่ตก ไม่ผันผวน
นายกษิดิศ ตันสงวน รองผู้อำนวยการ กลุ่มงานยุทธศาสตร์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการ Central Bank Digital Currency (CBDC) หรือเงินสกุลดิจิทัลที่ออกโดย ธปท. ในส่วนของ Retail CBDC ที่ออกมาใช้กับภาคประชาชนนั้น
ล่าสุด ธปท.คาดว่า จะสามารถเปิดให้ประชาชนเริ่มทดลองใช้ CBDC ในวงจำกัดได้ ภายใต้ครึ่งปีหลัง 2565 ได้ เนื่องจากขณะนี้อยู่ระหว่างการพูดคุยหารือกับผู้เข้าร่วมทดสอบ รวมถึงนำข้อเสนอแนะต่างๆ มาปรับใช้ ก่อนที่จะสามารถเปิดให้บริการได้
โดยการนำ CBDC มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องเข้าสู่แผนการทดสอบ 2 ส่วนสำคัญ ด้านแรกคือ การรองรับการใช้งานพื้นฐาน (Foundation track) เพื่อให้ระบบสามารถเชื่อมโยงกันได้ และมีความปลอดภัยในการใช้บริการ
อีกส่วนคือ Innovation track คือ การต่อยอดบริการไปสู่ การโอน จ่าย ถอน ซึ่งต้องประเมินว่าหากเอกชนทำแล้วจะกระทบความเสี่ยงด้านใดบ้าง
“การทดสอบในช่วงแรก หากทำออกมาได้ดี ต่อยอดบริการได้ง่าย ก็จะเข้าสู่การขยายวงกว้าง ก่อนนำออกไปใช้จริงได้ ส่วนรูปแบบการใช้ ยังไม่ได้กำหนด อาจจะมีซูเปอร์แอพพลิเคชั่น หรือต้องมีบัญชีแยกของ CBDC กับเงินฝาก ซึ่งด้านรายละเอียดต้องมาดูอีกครั้ง”
ด้านนายสักกะภพ พันธ์ยานุกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท.กล่าวว่า การพัฒนา Retail CBDC นั้นธปท.ไม่ได้ต้องการทำมาแข่งกับ สกุลเงินดิจิทัลอื่นๆ เช่น Stable Coin หรือ Cryptocurrency แต่จุดประสงค์ก็เพื่อเติมเต็มในเรื่องของเงินสด ให้มีความหลากหลายมากขึ้น
โดยเปลี่ยนจากการใช้ธนบัตร มาอยู่ในรูปของดิจิทัล หรืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อช่วยลดต้นทุน และให้เกิดการต่อยอดในการให้บริการเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า
“การพัฒนา Retail CBDC ในกรณีของไทย จึงไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อมาทดแทนการบริการชำระเงินที่มีอยู่เดิมหรือการให้บริการของภาคเอกชน แต่เป็นการเตรียมความพร้อมในการเป็นโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการต่อยอดนวัตกรรมการเงินของภาคธุรกิจและประชาชนในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางในเรื่องนี้ของธนาคารกลางอื่นๆ ที่อยู่ระหว่างการพัฒนา”
สำหรับ CBDC นั้นมีหลักๆ แล้ว มีคุณสมบัติเหมือนเงินบาทหรือธนบัตร เพียงแต่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล ที่สามารถนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการได้ตามกฎหมาย และสามารถรักษามูลค่าให้ไม่ผันผวนได้
ซึ่งแตกต่างกับ cryptocurrency ที่ออกโดยภาคเอกชน ซึ่งมักมีมูลค่าที่ผันผวน และความเสี่ยงจะขึ้นกับผู้ออกเหรียญ จึงไม่เหมาะที่จะนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ
ขณะที่ stablecoin แม้ว่าจะมีเงินสกุลปกติ หลักทรัพย์ หรือทรัพย์สิน เช่น ทองคำ ค้ำประกันให้มูลค่าไม่ผันผวนมากนัก แต่ยังมีความเสี่ยงจากผู้ออกอยู่เช่นกัน
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
0.00
BH Iveny
Revolut
BitMart
meibi
FTX US
OKEX kr
BITFINEX
OurBit
COINCIERGE
BLOOMX