เศรษฐกิจรัสเซียพังแค่ไหน หลังเกิดวิกฤต

เศรษฐกิจรัสเซียพังแค่ไหน หลังเกิดวิกฤต WikiBit 2022-03-03 18:54

รัสเซียถูกตัดขาด “การเงินโลก” สะเทือนเศรษฐกิจทั่วโลกมากกว่าที่คิด

  การแซงก์ชั่นรัสเซียที่เกิดขึ้นตามมา ซึ่งรวมถึงการห้ามทำธุรกรรมกับธนาคารกลาง, การขึ้นบัญชีดำธนาคารใหญ่ที่สุดของรัสเซียอย่าง Sberbank กับ VTB และการตัดรัสเซียออกจากระบบสื่อสารระหว่างธนาคารอย่าง SWIFT ส่งผลให้ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 11 ของโลกประเทศนี้ถูกปิดกั้นทั้งจากระบบการค้าและการเงินของโลกในทันที

  ระบบ SWIFT ที่เชื่อมโยงธนาคารมากกว่า 11,000 แห่งทั่วโลกเข้าด้วยกันในการทำธุรกรรมนับล้านล้านดอลลาร์ระหว่างธนาคาร มีความสำคัญกับรัสเซียอย่างยิ่ง เพราะเป็นกลไกสำคัญในการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างหนักในทันที เพราะขาดเม็ดเงินสนับสนุน เงินที่เคยไหลเข้าออกประเทศได้ง่าย ๆ ก็ถูกปิดถูกชะลอ

  “รัสเซีย” ไม่เพียงเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก แต่ยังเป็นผู้ผลิตโลหะอุตสาหกรรมสำคัญอย่างนิกเกิล, อะลูมิเนียม และแพลเลเดียม (ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์, อิเล็กทรอนิกส์และอัญมณี) ทั้งยังเป็นผู้ผลิต “โพแทช” วัตถุดิบสำหรับผลิตปุ๋ยรายสำคัญ นอกจากนั้น รัสเซียและยูเครน ยังเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีรายสำคัญของโลกอีกด้วย

  ซึ่งเรื่องนี้ก่อให้เกิดเศรษฐกิจพังอย่างรุนแรง Sberbank ธนาคารที่ใหญ่สุดของรัสเซีย ประกาศ ‘ถอดธุรกิจ’ ในยุโรปทั้งหมด สะเทือนหุ้นดิ่งลง 90% ในทันที แถมเสี่ยง ‘ล้มละลาย’ ธนาคารกล่าวว่า ไม่สามารถจัดหาสภาพคล่องให้กับบริษัทย่อยในยุโรปได้อีกต่อไป การเคลื่อนไหวดังกล่าวเน้นย้ำถึงแรงกดดันที่ธุรกิจรัสเซียบางแห่งกำลังเผชิญอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ส่วนภาคการเงินนั้นกำลังเผชิญกับการคว่ำบาตรธนาคารกลางและการกีดกันธนาคารบางแห่งออกจากระบบการชำระเงินทั่วโลก SWIFT

  รัสเซีย กำลังถูกคว่ำบาตรจากประเทศตะวันตกซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ตลาดหุ้นและสกุลเงินของประเทศได้พังทลายในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และแน่นอนว่า บริษัทระหว่างประเทศที่เข้าไปทำธุรกิจในรัสเซีย ต้องติดร่างแห่ไปด้วย ดังนั้น ไปดูกันว่ามีบริษัทไหนบ้างที่มีสถานะสำคัญในตลาดรัสเซีย1. CoCa-Cola

  CoCa-Cola จดทะเบียนในลอนดอนเพื่อจำหน่ายสินค้าใน รัสเซีย ยูเครน และส่วนใหญ่ของยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก ซึ่ง รัสเซียเป็นหนึ่งในตลาดที่ใหญ่ที่สุด ของบริษัทและมีพนักงานราว 7,000 คนในรัสเซีย

  2. BASF

  ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์สัญชาติเยอรมัน BASF (BASFY) ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ซึ่งมีบริษัท Wintershall Dea เป็นเจ้าของร่วมกับกลุ่มนักลงทุน LetterOne ของ Mikhail Fridman เศรษฐีชาวรัสเซีย และเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนทางการเงินของท่อส่งก๊าซ Nord Stream 2 ที่ถูกระงับ

  3. BP

  บริษัทน้ำมันของอังกฤษ BP เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในรัสเซีย โดยถือหุ้น 19.75% ใน Rosneft บริษัทน้ำมันแห่งชาติของประเทศ นอกจากนี้ยังถือหุ้นในโครงการน้ำมันและก๊าซอื่น ๆ อีกหลายโครงการในรัสเซีย

  4. Danone

  Danone ผู้ผลิตโยเกิร์ตสัญชาติฝรั่งเศส และเป็นผู้ควบคุมแบรนด์ผลิตภัณฑ์นม Prostokvanhino ของรัสเซีย ปัจจุบันมียอดขายประมาณ 6% จากประเทศรัสเซีย

  5. Engie

  บริษัทสาธารณูปโภคด้านก๊าซของฝรั่งเศส ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ผู้ร่วมลงทุนของท่อส่งก๊าซ Nord Stream 2 ของ Gazprom

  6. Metro

  บริษัทค้าปลีกสัญชาติเยอรมัน ซึ่งมีพนักงานประมาณ 10,000 คนในรัสเซีย ปัจจุบันให้บริการลูกค้าประมาณ 2.5 ล้านคน

  7. Nestle

  เนสท์เล่ บริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคของสวิส ปัจจุบันมี โรงงาน 6 แห่งในรัสเซีย ซึ่งรวมถึงโรงงานที่ทำขนมและเครื่องดื่ม ตามเว็บไซต์ของบริษัท ในปี 2020 ที่ผ่านมา เนสท์เล่มียอดขายจากรัสเซียประมาณ 1.7 พันล้านดอลลาร์

  8. Renault

  เรโนลต์ ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติฝรั่งเศสถือหุ้น 69% ในบริษัทร่วมทุน Avtovaz ของรัสเซีย ซึ่งอยู่เบื้องหลังแบรนด์รถยนต์ Lada และจำหน่ายรถยนต์ได้มากกว่า 90% ในประเทศ

  9. Rolls-Royce

  โรลส์-รอยซ์ ถือเป็นผู้ผลิตเครื่องยนต์ให้กับเครื่องบิน แม้จะระบุว่าตลาดรัสเซียมีสัดส่วนรายได้ไม่ถึง 2% จากรายได้รวมทั้งหมด แต่ 20% ของการนำเข้าไททาเนียมซึ่งใช้ทำชิ้นส่วนเครื่องยนต์และล้อลงจอดสำหรับเครื่องบินโดยสารระยะไกลมาจากประเทศรัสเซีย

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:

มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ

  • แปลงโทเค็น
  • การแปลงอัตราแลกเปลี่ยน
  • การคำนวณอัตราแลกเปลียน
/
ชิ้น
อัตราแลกเปลี่ยนในขณะนี้
จำนวนเงินที่สามารถแลกได้

0.00