5 วิธีปกป้องสินทรัพย์ดิจิทัลจากการความเสี่ยงถูกแฮคในยามสงคราม

5 วิธีปกป้องสินทรัพย์ดิจิทัลจากการความเสี่ยงถูกแฮคในยามสงคราม WikiBit 2022-03-05 18:25

เป้าหมายของแฮ็กเกอร์คือการคิดหาวิธีในการเจาะระบบป้องกัน และใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนในระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่ายของรัฐบาล ธุรกิจ หรือแม้แต่บุคคลที่มีชื่อเสียง แรนซัมแวร์เป็นมัลแวร์ที่ออกแบบมาเพื่อขัดขวาง สร้างความเสียหาย เข้าถึงระบบปิด เป็นไวรัสเข้ารหัสที่คุกคาม

  เป้าหมายของแฮ็กเกอร์คือการคิดหาวิธีในการเจาะระบบป้องกัน และใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนในระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่ายของรัฐบาล ธุรกิจ หรือแม้แต่บุคคลที่มีชื่อเสียง แรนซัมแวร์เป็นมัลแวร์ที่ออกแบบมาเพื่อขัดขวาง สร้างความเสียหาย เข้าถึงระบบปิด เป็นไวรัสเข้ารหัสที่คุกคาม โดยมุ่งเน้นที่จะเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลของเหยื่อ หรือบล็อกการเข้าถึงข้อมูลนั้นอย่างถาวร เว้นแต่เหยื่อจะมอบเงินค่าไถ่ เพื่อหยุดการกระทำที่เป็นอันตราย

  ในปี 2021 สหรัฐอเมริกาประสบปัญหากับการแฮ็กสองครั้ง เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2021 ระบบท่อส่งน้ำมันของอเมริกา Colonial Pipeline จากเมืองฮุสตัน รัฐเท็กซัส ไปยังภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐฯ ได้รับความเสียหายจากการโจมตีทางไซเบอร์ด้วยแรนซัมแวร์ ที่ส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จัดการท่อส่งน้ำมัน ในเดือนมิถุนายน 2021 JBS USA ผู้จัดจำหน่ายเนื้อวัวชั้นนำทั่วโลก ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ Greeley ต้องจ่ายเงิน 11 ล้านดอลลาร์ให้กับแฮกเกอร์แรนซัมแวร์ ที่ละเมิดเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท

  แม้ว่าเทคโนโลยีจะเปลี่ยนโลกและปรับปรุงคุณภาพชีวิต แต่น่าเสียดายที่เทคโนโลยีเหล่านั้นกลับถูกใช้เพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับอาชญากร การแฮ็กกลายเป็นเรื่องธรรมดาและแพร่หลายมากขึ้น และตอนนี้กลายเป็นกลยุทธ์การทำสงครามที่สำคัญ เมื่อสกุลเงินดิจิทัลถือกำเนิดขึ้น และมีตัวตนอยู่ในไซเบอร์สเปซเท่านั้น ประกอบกับการเคลมว่าตัวเองเป็นสกุลเงินแห่งโลกเสรี อาจทำให้อีกด้านหนึ่ง มันสามารถกลายเป็นเงินให้กับเหล่าแฮ็กเกอร์ที่ต้องการหากำไร เพื่อใช้ในการทำลายเสถียรภาพของรัฐบาล

  การแฮกคือศัตรูตัวฉกาจของสินทรัพย์ดิจิทัล

  ในอดีต วงการสกุลเงินดิจิทัลเคยมีแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดของโลกแห่งหนึ่งชื่อว่า Mt. Gox มีสำนักงานใหญ่ในชิบูย่า โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น Mt. Gox เริ่มดำเนินกิจการในเดือนกรกฎาคม 2010 ซึ่งช่วงนั้นราคาของบิทคอยน์ยังมีมูลต่ำกว่า 10 เซนต์ต่อหนึ่งเหรียญ ในปี 2013 และ 2014 Mt. Gox เป็นผู้ครอบครองสัดส่วนการทำธุรกรรมผ่านบิทคอยน์ของโลกมากกว่า 70% จากทั่วโลก

  แน่นอนว่าการเป็นเบอร์หนึ่งนั้นนำมาซึ่งความท้าทาย และที่นี่ก็เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายในการทดสอบฝีมือของเหล่าแฮกเกอร์ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2011 Mt. Gox รายงานว่าเหรียญบิทคอยน์ประมาณ 25,000 เหรียญหรือคิดเป็นมูลค่า 400,000 ดอลลาร์ในขณะนั้นถูกขโมยจากบัญชีผู้ใช้งาน 478 บัญชี สุดท้ายแล้ว การสอบสวนนั้นได้คำตอบว่าผู้ที่ลงมือกระทำการคือชาวรัสเซียนาม Alexander Vinnik ข้อมูลเปิดเผยว่าตั้งแต่ปี 2011 ถึงปี 2013 มีความเป็นไปได้ว่า Vinnik ได้ดูดบิทคอยน์ออกไปมากกว่า 600,000 เหรียญ ทำให้ Mt. Gox ระงับการซื้อขายทั้งหมด และต้องปิดตัวลงในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 การสูญเสียทั้งหมดคิดเป้นเหรียญบิทคอยน์ประมาณ 850,000 เหรียญ

  จากวันนั้นจนถึงวันนี้ วันที่มีสกุลเงินดิจิทัล มากกว่า 17,800 เหรียญ บรรดาเหล่าแพลตฟอร์มคริปโตฯ และนักลงทุนได้เรียนรู้จากหายนะของ Mt. Gox และนักลงทุนคริปโตฯ จะเก็บเหรียญของตนเอาไว้ในกระเป๋าเงิน คริปโตฯ ที่เชื่อว่า “ปลอดภัย” ด้วยรหัสผ่านหรือไพรเวทคีย์ แต่ถึงกระนั้น การแฮ็กยังคงเป็นอันตรายที่ชัดเจนและยิ่งเทคโนโลยีพัฒนาไปมากแค่ไหน ก็ยิ่งเป็นภัยที่ร้านกาจขึ้นเท่านั้น

  การแฮกเป็นธุรกิจที่ทำกำไรได้ดีในรัสเซีย เกาหลีเหนือ จีน และอิหร่าน

  การที่สกุลเงินดิจิทัลได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้แฮ็กเกอร์มีแรงจูงใจที่จะขโมยเงินดิจิตอลมากขึ้น ในขณะที่แฮกเกอร์ในประเทศกำลังพัฒนา เช่น ไนจีเรีย บังคลาเทศ ตูนิเซีย และไลบีเรีย มีแนวโน้มว่าจะมีแฮคเกอร์คริปโตฯ มากขึ้น ปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย จีน เกาหลีเหนือ อิหร่าน กับกับสหรัฐอเมริกา และชาติตะวันตกที่แย่ลง อาจสนับสนุนให้อาชีพแฮกเกอร์คริปโตฯ ในประเทศเหล่านี้มีมากขึ้น

  มีรายงานว่าผู้นำเกาหลีเหนือ คิม จอง อึน (Kim Jong-un) ได้สนับสนุนให้มีการแฮกคริปโตฯ มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ นี่คือหลักฐานพิสูจน์ให้เห็นว่าการแฮ็กเป็นเครื่องมือที่สร้างผลกำไร ให้ประเทศที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลฝั่งตะวันตก

  สงครามระหว่างรัสเซียยูเครนทำให้เกิดสงครามไซเบอร์ และการแฮกที่มากขึ้น

  เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กองทหารรัสเซียเคลื่อนเข้าสู่ยูเครน ส่งผลทำให้สหรัฐฯ และยุโรปเริ่มคว่ำบาตรรัฐบาลรัสเซียและบรรดาผู้มีอำนาจ ยิ่งรัสเซียส่งทหารเพื่อปรามกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครนมากเท่าไหร่ ตะวันตกก็ยิ่งเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรเพิ่มเติม มากขึ้นเรื่อยๆ

  ที่น่าสนใจคือการทำสงครามในวันนี้ต่างจากการทำสงครามในอดีต ทั้งแบบทางการและไม่เป็นทางการ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ วันก่อนกองทหารของปูตินจะเริ่มเคลื่อนพลเข้าเมืองหลวงยูเครน กองทัพรัสเซียได้เจาะระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในเมืองหลวงยูเครนก่อน

  ท่ามกลางสภาวะที่ซัพพลายถูกส่งเข้าไปในยูเครนได้ยาก และในช่วงเวลาที่สกุลเงินของทั้งประเทศผู้เริ่มสงคราม และประเทศผู้ถูกกระทำไม่มีเสถียรภาพ บิทคอยน์ อีเธอเรียม และสกุลเงินดิจิทัลอื่นๆ กลับมีการใช้งานในยูเครนมากขึ้น บางคนต้องใช้สกุลเงินดิจิทัลเพื่อหนีไปยังประเทศอื่น บางคนต้องการถือเอาไว้เป้นสินทรัพย์สำรองปลอดภัย ด้วยคุณสมบัติที่สามารถพกพาได้ง่าย และไม่จำเป็นต้องรอให้รัฐบาลมากำหนดแต่ก็สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้ เทำให้คริแโตมีแนวโน้มว่าจะเติบโตมากขึ้น ในขณะเดียวกันฝั่งผู้ไม่หวังดีก็เห็นความเป็นไปได้นี้ และก็มีเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน

  วิธีการปกป้องบัญชีสกุลเงินดิจิทัลของคุณเอง

  ผมเพิ่งได้รับคำเตือนว่ามีใครบางคนว่ามีการปลอมแปลงบัญชี Coinbase ของผม (NASDAQ:COIN) เสียงที่เกือบจะเหมือนหุ่นยนต์ขอให้ผมกดหนึ่งครั้งเพื่อพูดคุยกับผู้บริหารบัญชี ที่ประสงค์ดีจะช่วยผมในการรักษาความปลอดภัยบัญชีและปกป้องบัญชีจากแฮกเกอร์

  แต่ความจริงก็คือผมไม่มีบัญชี Coinbase การโทรนี้จึงสามารถสรุปได้ทันทีว่าเป็นความพยายามในการทำ “ฟิชชิง” ซึ่งเป็นการโจมตีทางอินเทอร์เน็ตประเภทหนึ่ง ที่ปลอมแปลงเป็นการโทรทั่วไปหรือส่งอีเมลไปให้กับผู้ที่ไม่รู้โดยหวังว่าจะมีคนกดเข้าไปอ่านอีเมล์หรือต่อสายตรงผ่านโทรศัพท์นั้น

  เป้าหมายคือการหลอกให้ผู้รับเชื่อว่าข้อความนั้นเป็นสิ่งที่พวกเขาจำเป็นต้องรู้ ตัวอย่างเช่น คำขอจาก Coinbase เพื่อช่วยเหลือลูกค้าา ผู้ที่ให้ข้อมูล คลิกลิงก์ หรือดาวน์โหลดไฟล์แนบมักจะตกเป็นเหยื่อของการโจมตี ransomware หรือถูกขโมยเงินดิจิทัลในบัญชีทันที ถ้าหากว่าวันหนึ่งคุณบังเอิญได้เจอผู้หวังดีแบบผม สิ่งที่คุณสามารถทำได้เบื้องต้นมีดังต่อไปนี้

  1.) อย่าเปิดอีเมลจากผู้ส่งที่ไม่รู้จัก

  2.) อย่าเปิดไฟล์เอกสาร เว้นแต่คุณจะรู้จักผู้ส่งและยืนยันว่าพวกเขาส่งเอกสารให้คุณเป็นไฟล์แนบ

  3.) หากข้อมูลที่ได้รับฟังดูดีเกินจริง ให้ถือว่าเป็นการฟิชชิ่งเอาไว้ก่อน

  4.) อย่าสานต่อคำร้องขอหรือการโทรจากฝ่ายตรงข้าม แม้ว่าคุณจะรู้จักสถาบันการเงิน หรือธนาคารนั้นก็ตาม หากคุณกังวลใจ ให้วางสาย และติดต่อธนาคาร หรืแสถาบันการเงินนั้น เพื่อยืนยันว่าพวกเขาพยายามติดต่อคุณ

  5.) อย่าแชร์ข้อมูลส่วนบุคคลทางโทรศัพท์ อีเมล หรือทางโซเชียลมีเดียเด็ดขาด

  ต่อให้จะระวังตัวดีแค่ไหนแต่ก็ยังมีความเสี่ยงจากการถูกแฮก

  ไม่ว่าเราจะป้องกันตัวเองดีแค่ไหน แค่แฮกเกอร์จะยังคงใช้เทคนิคฟิชชิ่งเพื่อขโมยสกุลเงินดิจิทัล จากใครก็ตามที่ไม่ระมัดระวังพอต่อไป Ransomware อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมทำเช่นกัน ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมอาชญากรไซเบอร์มักต้องการการชำระเงินเป็นสกุลเงินดิจิทัล เนื่องจากการติดตามพวกเขาได้ยากกว่า

  ในอนาคตอาชญากรเหล่านี้จะใช้เทคนิคที่ซับซ้อนมากขึ้นในการเข้าถึงเหรียญในกระเป๋าของคุณ แม้ว่าคุณจะมีรหัสที่มีแต่คุณเท่านั้นที่เข้าได้ แต่แฮกเกอร์ก็อาจจะสามารถหาวิธีเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นจนได้ ยิ่งในจังหวะนี้ ที่ตลาดสกุลเงินดิจิทัลกำลังเป็นขาลง ผู้คนกำลังเริ่มกลับเข้ามาทยอยซื้อสะสม ก็ยิ่งเป็นช่วงเวลาให้เหล่าแฮกเกอร์ได้ทดลองแฮก หรือทำอะไรใหม่ เพื่อให้พวกเขาพร้อมในวันที่ตลาดกระทิงกลับมา

  ถึงแม้ว่าเราจะได้เห็นบิทคอยน์ อีเธอเรียม และสกุลเงินดิจิทัลอื่นๆ อีกกว่า 17,800 สกุลเพิ่มขึ้นในช่วงหลายเดือนและหลายปีต่อจากนี้ แต่ถ้าตัวเราเองยังไม่รู้วิธีการดูแลสกุลเงินดิจิทัลอย่างทะลุปุโปร่ง หรือฝากเงินเอาไว้กับแพลตฟอร์มที่ไม่มีคุณภาพ โอกาสที่จะสูญเสียเงินดิจิทัลของคุณไปก็ยังคงมีมากขึ้นอยู่ดี คำแนะนำ

  สุดท้ายก่อนที่จะจากกันไปในบทความนี้ วิธีการเก็บรักษารหัสของคุณที่ดีที่สุดบางทีอาจจะเป็นวิธีที่คลาสสิกที่สุด คือการพิมพ์รหัส หรือ QR Code ของบัญชีคุณออกมา และเก็บมันไว้กับคุณในจุดที่คุณคิดว่าปลอดภัยที่สุด วิธีนี้มีเพื่อการถูกทำลายทางกายภาพเท่านั้นที่จะสามารถทำลายบัญชีคุณได้ แต่รับประกันได้ว่า ปลอดภัยจากการคุกคามผ่านอินเตอร์เน็ตแน่นอน

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:

มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ

  • แปลงโทเค็น
  • การแปลงอัตราแลกเปลี่ยน
  • การคำนวณอัตราแลกเปลียน
/
ชิ้น
อัตราแลกเปลี่ยนในขณะนี้
จำนวนเงินที่สามารถแลกได้

0.00