การบุกรุกได้สร้างความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ที่กดดันรัฐบาลไปพร้อมๆ กับตลาดการเงินทั่วโลก ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงที่สุดเมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน
หลังจากใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการอธิบายเหตุผลทางประวัติศาสตร์ว่าทำไมผู้นำของรัสเซียถึงเชื่อว่ายูเครนไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าพื้นที่ทางตะวันตกของประเทศของ ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ก็ได้สั่งให้ทหารเกือบ 200,000 นายบุกยูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ในขณะเดียวกันสหรัฐอเมริกา ยุโรป และยูเครนซึ่งเป็นผู้ถูกรุกราน เชื่อว่าประเทศในยุโรปตะวันออกเป็นดินแดนที่มีอธิปไตยเป็นของตัวเอง การบุกรุกได้สร้างความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ที่กดดันรัฐบาลไปพร้อมๆ กับตลาดการเงินทั่วโลก ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงที่สุดเมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน
นักลงทุนในตลาดบางคนเชื่อว่าสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นตลาดเกิดใหม่ ที่สามารถใช้เป็นทั้งการป้องกันความเสี่ยงต่อเงินเฟ้อและเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยในช่วงเวลาที่เกิดความวุ่นวายทางการเมือง อย่างไรก็ตาม ก็กลับมีคำถามว่าทำไมทั้งๆ ที่มีอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในช่วงต้นเดือนมีนาคม 2022 และไฟสงครามที่ร้อนแรงที่สุดนับตั้งแต่เกิดสงครามโลกในปี 1945 แต่ตลาดสกุลเงินดิจิทัลกลับไม่ปรับตัวขึ้นเลย
สินทรัพย์เกิดใหม่
ถึงแม้ว่าบิทคอยน์จะเริ่มสร้างชื่อให้กับตัวเองมาตั้งแต่ปี 2010 แต่สกุลเงินดิจิทัลใหม่ๆ กลับพึ่งมาได้รับความนิยมในช่วงห้าปีหลังสุดเท่านั้น การเปิดตัวบิทคอยน์ฟิวเจอร์สในช่วงปลายปี 2017 ได้นำบิทคอยน์เข้าสู่กระแสหลัก ผลักดันราคามีสูงกว่า 20,000 ดอลลาร์ต่อหรึ่งเหรียญ แม้ว่าจะมีความผันผวนสูงมากก็ตาม
ในปี 2010 บิทคอยน์เคยมีการซื้อขายอยู่ที่ 5 เซนต์ต่อหนึ่งเหรียญ แต่ในช่วงปลายปี 2013 ราคาบิทคอยน์กลับสามารถพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดที่ 1,135.45 ดอลลาร์ได้ ก่อนจะร่วงลงมาต่ำกว่า 1,000 ดอลลาร์ จนถึงปี 2017 เมื่อบิทคอยน์กลับมาพุ่งขึ้นอีกครั้ง หลังจากนั้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ก็มีเหตุการณ์ทางสถิติที่น่าสนใจเกิดขึ้นมากมาย ยกตัวอย่างเช่น:
ในปี 2017 กรอบราคาบิทคอยน์อยู่ระหว่าง 762.38 ดอลลาร์ถึง 19,862 ดอลลาร์ต่อหนึ่งเหรียญ
ในปี 2018 กรอบราคาบิทคอยน์อยู่ระหว่าง $3,158.10 ถึง $17,224.62 ดอลลาร์ต่อหนึ่งเหรียญ
ในปี 2019 กรอบราคาบิทคอยน์อยู่ระหว่าง $3,355.25 ถึง $13,844.30 ดอลลาร์ต่อหนึ่งเหรียญ
ในปี 2020 กรอบราคาบิทคอยน์อยู่ระหว่าง $3,925.27 ถึง $29,301.78 ดอลลาร์ต่อหนึ่งเหรียญ
ในปี 2021 กรอบราคาบิทคอยน์อยู่ระหว่าง $28,957.79 ถึง $68,906.48 ดอลลาร์ต่อหนึ่งเหรียญ
จนถึงตอนนี้ในปี 2022 กรอบราคาบิทคอยน์อยู่ระหว่าง 33,076.69 ถึง 47,937.17 ดอลลาร์ มีจุดต่ำสุดของ ราคาที่ยกตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับจุดสูงสุดก่อนหน้าและยังมีโอกาสที่ปีนี้ราคาบิทคอยน์จะปรับตัวสูงขึ้นได้ สำหรับคำถามที่ว่าทำไมสินทรัพย์ดิจิทัลไม่ปรับตัวขึ้น ทั้งๆ ที่มีความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด? เรามีเหตุผลอธิบายอยู่ในบทความนี้ แต่ก่อนที่จะไปถึงตรงนั้น ผู้อ่านควรได้ทำความเข้าใจภาพรวมของตลาดสกุลเงินดิจิทัลในปัจจุบันก่อน
สภาพตลาดในปัจจุบันที่เทรนด์ขาลงยังเป็นฝ่ายคุมเกม
ในวันที่ 24 พฤศจิกายน CME Bitcoin Futures ได้ขึ้นมาสร้างจุดสูงสุดเอาไว้ที่ 69,355 ดอลลาร์ จากนั้นทุกสิ่งทุกอย่างก็เปลี่ยนไป
Bitcoin Futures Weekly
ที่มา: CQG
ตั้งแต่สร้างจุดสูงสุดนั้นได้ ราคาบิทคอยน์ก็ปรับตัวลดลง จากกราฟรายสัปดาห์รูปนี้จะเห็นว่าบิทคอยน์ฟิวเจอร์สในวันที่ 24 มกราคมตกลงสู่จุดต่ำสุดที่ 32,855 ดอลลาร์ต่อหนึ่งเหรียญ ทำให้ราชาสกุลเงินดิจิทัลสูญเสียมูลค่าไปมากกว่าครึ่ง
ตั้งแต่นั้นมา การเคลื่อนไหวของบิทคอยน์ก็ไม่ได้ขยับตัวหรือเคลื่อนไหวไปไกลจากบริเวณจุดต่ำสุดบริเวณนี้มากนัก ยิ่งไปกว่านั้น ราคายังลงไปทำจุดต่ำสุดที่ 34,295 ดอลลาร์ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ พฤติกรรมล่าสุดที่สร้างจุดสูงสุดที่ต่ำลง ไปพร้อมๆ กับการทำจุดต่ำสุดที่ต่ำลง ก่อให้เกิดรูปแบบทางเทคนิคที่เรียกว่า “รูปลิ่ม” (Wedge) ซึ่งมักจะถูกตีความหมายทางเทคนิคว่ากำลังจะมีความเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้ามกับเทรนด์ปัจจุบัน
ถึงแม้จะมีความเป็นไปได้ที่กำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ราคา แต่ในความเห็นของเรา ตลาดสกุลเงินดิจิทัลมีอุปสรรคสำคัญสามประการที่ขวางกั้นขาขึ้นในช่วงเวลานี้เอาไว้
1. รัฐบาลชอบบล็อกเชนแต่ไม่เอาคริปโตฯ
ถึงแม้ว่านักเก็งกำไรและนักลงทุนจำนวนมากยอมรับสกุลเงินดิจิทัลเป็นสินทรัพย์ประเภทหลัก แต่รัฐบาลไม่เคยมองเช่นนั้น ข้ออ้างและการวิพากษ์วิจารณ์ด้านกฎระเบียบมากมายของรัฐบาลมุ่งเน้นไปที่การใช้สกุลเงินดิจิทัลในเรื่องที่ผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ความกลัวซึ่งเป็นความจริงที่แฝงอยู่ก็คือสกุลเงินดิจิทัลจะเป็นอุปสรรคในการขยายความสามารถในการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ที่พวกเขาสามารถพิมพ์เงินเพิ่มเมื่อไหร่ และเท่าไหร่ก็ได้ตามที่ต้องการ
ถึงกระนั้น อีกฉากหน้าหนึ่ง รัฐบาลก็ทำเสมือนว่ามีความต้องการนำเทคโนโลยีบล็อคเชนมาใช้ เหมือนเป็นการบ่งบอกว่าพวกเขาไม่เคยปิดกั้นการเติบโตทางเทคโนโลยี ลึกๆ พวกเขารู้ดีว่าบล็อกเชนเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิวัติฟินเทค การเพิ่มความเร็ว ประสิทธิภาพ และการบันทึกธุรกรรมทางการเงิน ดังนั้นรัฐจึงมีความพยายามที่จะสร้างสกุลเงินดิจิทัลโดยรัฐบาลขึ้นมา เพื่อหวังว่าจะสามารถดึงให้ผู้คนยังคงอยู่กับระบบการเงินแบบเดิมๆ ได้ (ซึ่งไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรหากว่าพวกเขายังสามารถพิมพ์เงินได้อย่างไม่จำกัด)
2. สัญญาณขาลงที่ส่งมาจาก High กลางเดือนพฤศจิกายน
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาสองสกุลเงินดิจิทัลแนวหน้าอย่างบิทคอยน์และอีเธอเรียมยังมีความผันผวนสูง แม้ว่าจะได้รับการยอมรับมากขึ้นในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2021 ทั้งสองสกุลเงินต่างก็สามารถสร้างจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ได้ ก่อนที่จะร่วงลงมาอยู่ในจุดที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
BTC/USD Daily
ที่มา: Barchart
กราฟรูปนี้แสดงให้เห็นวันที่บิทคอยน์เคยขึ้นสู่จุดสูงสุดตลอดกาลเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ก่อนจะสร้างรูปแบบการกลับตัวเป็นแนวโน้มขาลงที่สำคัญที่สุด และทำให้ราคาบิทคอยน์ร่วงลงเนื่องจากมีแรงเทขายมากกว่าแรงซื้อ
ที่มา: Barchart
กราฟรูปนี้แสดงให้เห็นช่วงเวลาเดียวกันของสกุลเงินอีเธอเรียมที่เคยขึ้นไปสร้างจุดสูงสุดตลอดกาล และปรับตัวลดลงมาในวันเวลาเดียวกันกับบิทคอยน์ การเปลี่ยนเทรนด์ทางเทคนิคทำให้นักลงทุนหลายคนต้องสูญเสียเงินจากการเก็งกำไรตลาดสกุลเงินดิจิทัล หลังจากเจ็บตัวมาไม่น้อย นักลงทุนหลายคนจึงยังไม่กล้าที่จะเสี่ยงลงทุนกับตลาดคริปโตฯ ตอนนี้ และเลือกที่จะรอดูไปอีกสักพัก จนกว่าจะแน่ใจว่าขาขึ้นของตลาดคริปโตฯ กลับมาแน่นอนแล้ว
3. โลกยังคงไม่ชินกับสินทรัพย์สำรองใหม่
ก่อนที่สกุลเงินดิจิทัลถือกำเนิด ทองคำได้เป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยที่สุด เพราะสกุลเงินดิจิทัลในตอนนี้ยังอยู่ในขาลง นักวิเคราะหํหลายคนจึงได้ตั้งสมมติฐานว่านักลงทุนได้หันหน้าเข้าหาสินทรัพย์สำรองปลอดภัยอื่น ที่มีความน่าเชื่อถือมานานนับพันปีมากกว่า หากได้พิจารณาพฤติกรรมราคาทางเทคนิค จะเห็นว่าในช่วงที่คริปโตฯ คึกคัก ราคาทองคำได้สะสมแรงขาขึ้น ในรูปแบบของลิ่ม และยกจุดต่ำสุดขึ้นมาตลอดทั้งปี 2021
Gold Weekly
ที่มา: CQG
รูปนี้แสดงให้เห็นการซุ่มสร้างขาขึ้นของราคาทองคำ หลังจากแตะจุดสูงสุดตลอดกาลที่ $2,063 ต่อออนซ์ ในเดือนสิงหาคม 2020 ราคาทองคำก็ปรับตัวลดลงมาตลอดปี 2021 อย่างไรก็ตาม ในช่วงนั้นทองคำสามารถรักษาทรงให้ไม่ลงไปวิ่งต่ำกว่า $1,700 ได้ และในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ทองคำก็ได้หลุดกรอบไซด์เวย์ออกมา กลายเป็นขาขึ้นในปัจจุบัน เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว ราคาทองคำมีราคาซื้อขายเพิ่มขึ้นแตะระดับ 1,970 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และเมื่อวานนี้ก็สามารถขึ้นแตะ 2,000 ดอลลาร์ ได้อีกครั้งจากรูปแบบลิ่มที่เกิดขึ้น
จากการวิเคราะห์ทางเทคนิคของทองคำในตอนนี้ มีแนวโน้มที่ขาขึ้นที่ชัดเจนมากกว่าตลาดสกุลเงินดิจิทัล จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากว่าจะเห็นบิทคอยน์ยังคงนั่งซึมอยู่ต่ำกว่า $40,000 อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่สกุลเงินดิจิทัลมีความได้เปรียบเหนือสินค้าโภคภัณฑ์อย่างทองคำและน้ำมันคือความคล่องตัว และความสะดวกสบายในการย่อยขนาดมูลค่าของตัวเอง
วันนี้โลกเราได้เรียนรู้แล้วว่าการปล่อยให้กลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง มีอำนาจในการกำหนดนโยบายการเงินเอง นำมาซึ่งความพังพินาศที่ทุกคนในสังคมต้องรับผิดชอบร่วมกันมากแค่ไหน ในวันที่ผู้คนคิดได้ว่าการเงินไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกเสรี วันนั้นสกุลเงินดิจิทัลก็จะกลับมาเจิดจรัสอีกครั้ง
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
South Korea: Upbit Investigated for Over 500,000 KYC Violations
MacBook Users with Intel Chips Urged to Update for Enhanced Security
Solana-Based Trading Terminal DEXX Hacked, Over $21M in User Losses
South Korea to Enforce 20% Crypto Tax in 2025 with Increased Exemption Limit
0.00
axi
JPEX
KyberSwap
Ndax
SSLM max
bithumb GLOBAL
COINBENE
BINANCE
digitalexchange.id
bitcoin.de