ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกมาประกาศห้ามธนาคารในประเทศไทย ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิตอลเกิน 3% ของกองทุน ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เป็นอย่างมากในแวดวงนักลงทุน
Manager Online กับบทวิเคราะห์ที่เผยให้เห็นว่า ดีล Bitkub และ SCB ส่อแววล่ม เรียกได้ว่าได้เกิดกระแสฮือฮาเป็นอย่างมากเมื่อวันที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมา ทางธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกมาประกาศเรื่อง ห้ามธนาคารในประเทศไทยลงทุนในสินทรัพย์ดิจิตอลเกิน 3% ของกองทุน ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เป็นอย่างมากในแวดวงนักลงทุน
.
วันนี้ WikiBit ขอเสนอเนื้อหาที่ ส่อแววเกิดกระแสดราม่า ระหว่าง เมเนอร์เจอร์ออนไลน์ กับบิทคับ เมื่อเว็บไซต์ข่าวชื่อดัง Manager Online หรือชื่อที่พวกเราคุ้นเคยกันอย่างดีคือ สำนักข่าวผู้จัดการออนไลน์ ซึ่งเป็นสำนักข่าวเศรษฐกิจ ข่าวการบ้านการเมืองชื่อดัง ได้ออกมาเผยแพร่บทความ ดีล SCB. กับบิทคับ อาจส่อแววล่ม ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2565 ซึ่งตรงนี้ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าเป็นผู้มาก่อนกาลได้หรือไม่? เพราะทางผู้ Manager Online ได้กล่าวถึง Big Deals ของทาง Bitkub (แพลตฟอร์มกระดานเทรด คริปโตเคอร์เร้นซี่ สัญชาติไทยที่มีผู้เปิดบัญชีอยู่กว่า 3 ล้านบัญชี)
.
SCBx (บริษัท โฮลดิ้งส์ เพื่อเป็นบริษัทในการลงทุนธุรกิจต่าง ๆ ของ SCB ที่เป็นธนาคารที่ใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 5 ของประเทศไทย) ก่อนหน้านี้เคยเกิดกระแสฮือฮาจากการที่ SCBx ได้เข้าไปซื้อหุ้น จากทาง Butkub ถึง 51% ซึ่งเคยทำให้คุณท๊อป จิรายุส ถึงกลับต้องกลืนน้ำลายตัวเองมาแล้วที่ได้เข้าไปร่วมทุนกับ ธนาคาร ซึ่งอาจจะไม่ตรงวัตถุประสงค์ของการเป็น Decentralized Finance ในเรื่องการทำธุรกรรมที่ไม่ผ่านธนาคาร หรือการโดนควบคุมจากรัฐ ส่วนด้านของ SCBx เองก็มีเป้าหมายที่หวังจะเข้าทางลัด เพราะต้องการสร้างการเติบโตและมูลค่าในระยะยาวตามบริบทของโลกการเงินที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่ง Big deal ในครั้งนี้ได้มีจำนวนลงทุนมหาศาล มูลค่าการลงทุนสูงกว่า 17,850 ล้านบาท และทำให้หุ้นของ SCB และราคาเหรียญของ คับคอยน์ (KUB)ในช่วงเวลานั้นพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว เรียกว่า WIN-WIN กันทั้งสองฝ่าย
.
Wikibit จะสรุปให้ฟังในเนื้อหาที่ Manager Online ได้วิเคราะห์ ของดีล บิทคับ และ SCBx ไว้ดังนี้
เหตุใดทาง Manager Online ถึงได้กล่าวว่าเหตุการณ์ในครั้งนี้ส่อแววล่มเนื่องจาก การทำธุรกรรมการซื้อขายหุ้นจะต้องอยู่ภายใต้การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยมีเงื่อนไขว่า ผลการสอบทานธุรกิจ (Due Diligence) ของ Bitkub ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญต้องออกมาเป็นที่น่าพอใจ หรือเรียกว่า “ตรงปก” และคู่สัญญาได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุในสํญญาซื้อขายหุ้นครบถ้วน
ความจริงเกี่ยวกับดีลในครั้งนี้ ที่ผ่านมาที่เราได้ยินกันว่า SCBx ซื้อ Bitkub นั้นเป็นเรื่องจริง แต่ยังไม่เกิดขึ้นจริง เพราะทาง Manager Online ได้กล่าวไว้ว่า ขณะนี้ซูเปอร์ดีลระหว่าง SCBX กับ Bitkub อยู่ในการพิจารณาของแบงก์ชาติ ซึ่งเท่ากับว่าดีลในครั้งนี้ยังไม่ได้ถูกต้อง และในเวลาปัจจุบัน SCBx ยังไม่ได้ครอบครองหุ้น 51%
ท่าทีของสถานการณ์โลกที่ผันผวนเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน ผลกระทบจากภัยพิบัติโควิดระบาด และวิกฤตสงครามรัสเซีย-ยูเครน อาจส่งผลให้ดีลในครั้งนี้น่าจะมีมูลค่าหดหายลดไปอีก
ทาง Manager Online ยังได้ออกมาพูดถึงเรื่องที่ความจริงแล้ว ก่อนหน้าที่ดีลนี้จะจบลงที่ SCBx คุณท๊อป จิรายุส CEO ของบิทคับเอง เคยเร่เสนอขายหุ้นให้บรรดาเศรษฐีทั่วฟ้าเมืองไทย แต่ไม่ได้รับความสนใจ ซึ่งน่าคิดว่า ทำไมเศรษฐีนายทุนทั้งหลายจึงปฏิเสธ ต่อมานักวิเคราะห์เชื่อกันว่า สาเหตุที่หลายคนปฏิเสธบิทคับ อาจจะเห็นว่ามูลค่าที่ท็อปเสนอมานั้นสูงเกินจริง ขณะที่คริปโตฯ เป็นเรื่องของความเสี่ยงที่ไม่แตกต่างจาก “บ่อนพนัน” โอกาสที่จะให้ผลประโยชน์คุ้มค่าในการลงทุนนั้นประเมินยาก
ข้อสงสัยในเรื่อง รายได้กับวอลลุ่ม รายได้กับปริมาณการซื้อขายของ Bitkub เพราะจากข้อมูลที่นำเสนอมาด้วยวอลุ่มซื้อขายรวม 9 เดือน 1.03 ล้านล้านบาท กับค่าธรรมเนียม 0.25% นั้นไม่สามารถออกดอกผลมาเป็นรายได้ถึงระดับ 3.27 พันล้านบาทได้ และน่าจะอยู่ที่ประมาณ 2.5 พันล้านบาทเพียงเท่านั้น ซึ่งตรงนี้คงต้องรอดูว่าจะผ่านการประเมินจากเหล่า Stakeholder ของทาง SCBx หรือไม่?
ความจริงที่ว่าจริงๆแล้ว ผู้คุมกฎอย่างแบงก์ชาติ-ก.ล.ต.จะยอมหรือไม่ เพราะหลังจากเรื่อง ดีลนี้ ถูกประกาศออกไป ได้นำไปสู่ความเข้มงวดของแบงก์ชาติมายิ่งขึ้น จนถึงตีกรอบไว้ชัดเจนเป็นกฎเหล็ก ว่าถึงแม้ธนาคารพาณิชย์จะปรับโครงสร้างธุรกิจการเงินอย่างไร แบงก์ต่างๆ
ยังมีหน้าที่รับเงินฝากจากประชาชน เพราะฉะนั้นการดำเนินการใดๆ ที่จะนำความเสี่ยงมาสู่แบงก์ ธปท.จะไม่ยอมให้เกิดขึ้นเด็ดขาด!
.
และนี่คือบทสรุปที่ทาง Wikibit ได้แกะมาจากบทวิเคราะห์ที่ทาง Manager Online ได้เขียนไว้ ซึ่งอาจจะสอดคล้องกับกฎหมายที่แบงก์ชาติไทยออกแนวทางคุมห้ามธนาคารพาณิชย์ถือหุ้นธุรกิจ Crypto เกิน 3% ของเงินกองทุน สกุลเงินดิจิตอล ทั้งนี้อาจจะต้องคอยติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะหาก SCB ไม่ได้ถือหุ้นบิทคับแล้ว แล้วคงต้องคอย ดูท่าทีต่อไป บิทคับ จะออกไปในทิศทางไหน เพราะ ก.ล.ต ก็ได้ออกมาซ้ำเติมเพิ่มอีกว่าห้ามมิให้ใช้เหรียญคริปโต ในเชิงการค้า แต่ใช้ได้ในการเทรดเพียงอย่างเดียว และเท่ากับว่า ก่อนหน้านี้ที่ออกประกาศมาจะเป็นการปั่นราคาหรือไม่ หรือ คุณคิดว่าบิทคับ จะแก้เกมในครั้งนี้ได้อย่างไรลองมาแชร์กันหน่อยนะคะ
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
0.00