วันนี้ WikiBit จะพาทุกท่านย้อนวันวานไปกับเหตุการณ์วิกฤติ IMF ( IMF Crisis) หรือถ้าเรียกใกล้ๆตัวคือ วิกฤติต้มยำกุ้ง ที่กูรูด้านการเงินไทย กลัวเหลือเกินว่า คริปโตจะทำให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีกครั้ง
เชื่อว่าหลายคนที่เป็นคอซีรีส์เกาหลี อาจกำลังอินกับเรื่อง “Twenty five , Twenty One” วันนี้ WikiBit จะพาทุกท่านย้อนวันวานไปกับเหตุการณ์ที่เป็น
ตัวดำเนินเรื่องในปี 1998 กับวิกฤติ IMF ( IMF Crisis) หรือถ้าเรียกใกล้ๆตัวคือ วิกฤติต้มยำกุ้ง ที่กูรูด้านการเงินไทย กลัวเหลือเกินว่า คริปโตจะทำให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีกครั้ง
.
เราจึงขอพาทุกท่านย้อนเรื่องราวผ่านมุมมองของซีรีส์ เรื่อง “Twenty five , Twenty One” ที่ได้เล่าเรื่องราวชีวิตของวัยรุ่นในช่วงเวลา IMF ที่ได้พรากความฝันไปจากใครหลายคน ผ่านตัวละครหลัก คือ นาฮีโด (รับบทโดย คิมแทรี) นักเรียนมัธยม วัย 18 ปี ที่ชมรมฟันดาบในโรงเรียนถูกยุบ ทำให้ความฝันในการเป็นนักกีฬาฟันดาบกำลังจะสลายไป และแพคอีจิน (รับบทโดยนัมจูฮยอก) วัย 22 ปี อดีตนักศึกษาวิศวกรรม ที่เคยมีฐานะดีแต่เพราะวิกฤตค่าเงินทำให้ครอบครัวล้มละลาย ต้องกระจัดกระจายไปคนละทาง ความฝันในการเรียนสลายหายไป
.
เมื่อได้รู้จักกับนาฮีโด “เธอ และเขาต่างป็นแรงบันดาลใจให้กัน” และอะไรคือเรื่องราวที่ทำให้ ที่ทำให้ส่งผลกระทบต่อชีวิตของตัวละครเหล่านี้ ซึ่งอาจเป็นภาพสะท้อนเรื่องจริงของหลายๆ คน
.
“ สู้ชีวิตแต่ชีวิตสู้กลับใช่ไหม ? ”
“ ยุคสมัยบีบให้เราทิ้งทุกอย่าง เราจะยอมทิ้งความสุขไปอีกได้ยังไง! ”
.
คำเหล่านี้ผิวเผิน เป็นคำพูดที่บรรยายสถานการณ์ในซีรีส์ได้ดี แต่คำเหล่านี้ กลับนำมาใช้ได้ กับชีวิตจริงในสถานการณ์ปัจจุบัน ในช่วงชีวิตที่ประสบพบเจอปัญหากับเหตุการณ์โรคระบาด Covid-19 ที่ลุกลามส่งผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจ เรื่องราวการเกิดวิกฤติในครั้งนี้ ส่งผลกระทบต่อชีวิตของตัวละคร ซึ่งเป็นภาพสะท้อนเรื่องจริงของหลายๆ คนในยุค IMF หากเปรียบเทียบง่ายๆ นางเอก นาฮีโด โดนพรากความฝัน ส่วนพระเอก แพคอีจิน โดนพลาก สถานะทางการเงิน และครอบครัว ถ้าจะเปรียบเทียบกับประโยคที่เห็นได้ชัดที่สุดคงหนีไม่พ้น ประโยคที่พระเอก แพคอีจิน ได้พูดไว้ดังนี้
.
“ยุคสมัยน่ะ พรากความฝันไปจากเธอได้ง่ายๆ เลย ไม่ใช่แค่ความฝัน แต่มันพรากเงินทองไปได้ด้วย และพรากครอบครัวไปได้เหมือนกัน หรือมันอาจจะพรากทั้งสามอย่างไปพร้อมกันก็ได้แววตาเศร้าและขอบตาแดงๆ ของเขาอาจเผยความรู้สึกได้ชัดกว่าถ้อยคำ”
.
ย้อนกลับมาที่การเกิด ‘วิกฤติไอเอ็มเอฟ’ (IMF Crisis) คือวิกฤติที่คนไทยเราคุ้นเคยในชื่อ ‘วิกฤติต้มยำกุ้ง’ หรือชื่ออย่างเป็นทางการณ์ว่า ‘วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย’ ที่ผ่านมาราว 25 ปี ภาพความจำเลือนรางสำหรับบางคน แต่ชัดเจนสำหรับหลายคน โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติครั้งนั้น
.
‘IMF’ หรือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund) เกิดขึ้นช่วงปี 1997-1998 หรือ พ.ศ. 2540-2541 ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในประเทศไทย แล้วลามไปอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ เป็นลำดับสุดท้าย ซึ่งชาวเกาหลีใต้เรียกมันว่า ‘วิกฤติไอเอ็มเอฟ’
.
จุดเริ่มต้นขึ้นในประเทศไทย ในวันที่ 2 กรกฎาคม 1997 ที่กระทรวงการคลัง ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศยกเลิกอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ แล้วปล่อยลอยตัวค่าเงินบาท หลังจากรัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 1997 ค่าเงินบาทตกต่ำมาก จากอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยสถติต่ำสุดอยู่ที่ 56 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ก่อนอื่น เราต้องทำความเข้าใจว่ากว่าจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจนั้นเป็นเรื่องใหญ่มันไม่ได้เกิดจากปัจจัยเพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่งแต่มันคือการรวมตัวกันของความผิดพลาดหลายๆ อย่างที่ดำเนินไปโดยไม่มีการแก้ไข นานวันเข้ามันก็กลายเป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ที่รอวันระเบิดเท่านั้นเอง
.
แต่นักวิเคราะห์ได้กล่าวไว้ว่ามี 6 สาเหตุหลัก ได้แก่
ประเทศไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัด อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ค.ศ. 1987-1996 (พ.ศ.2530-2539)
ไทยมีหนี้ต่างประเทศมาก สถาบันการเงินของไทยก็กู้เงินจากสถาบันการเงินต่างประเทศจำนวนมาก ในช่วงปลายปี 1997 หนี้ต่างประเทศของไทยสูงถึง 109,276 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปัญหาของการมีหนี้ต่างประเทศมากก็คือ ต้องรับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน
การลงทุนเกินตัว และเกิดฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งนำไปสู่การที่ฟองสบู่แตก ประเทศไทยยุคนั้นคนมีเงินเยอะขึ้น แต่เป็นการรวยไม่จริง รวยจากการกู้ยืมชาวบ้านมาแทบทั้งสิ้น ซึ่งสิ่งที่ทิ้งไว้เป็นอนุสาวรีย์ของเหตุการณ์นี้คืออาคารสาธร ยูนีค ที่เราคุ้นตากันอย่างดี
การขาดความเชื่อมั่นในสถาบันการเงิน เนื่องจากความด้อยประสิทธิภาพใน รัฐบาลต้องสั่งปิดสถาบันการเงินไปมากกว่า 58 แห่ง
ความไม่มีประสิทธิภาพในการดำเนินนโยบาย การที่รัฐบาลอนุญาตให้มีการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนอย่างเสรีโดยไม่มีการเตรียมความพร้อมหรือกำกับดูแล
มีการโจมตีค่าเงินบาท โดยนักลงทุนต่างชาติ และกองทุนที่ระดมทุนมาเก็งกำไรค่าเงินบาท ไทยต้องใช้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศไปมากจนเหลือเพียง 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากก่อนวันที่ 8 พฤษภาคม 1997 ไทยมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ 24,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
.
อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกิดวิกฤติตามไทยมา เพราะมีความเสี่ยงจากปัญหาที่คล้ายๆ กัน เมื่อนักลงทุนเริ่มถอนตัวออกไปและสร้างผล กระทบต่อเศรษฐกิจ ประเทศที่เผชิญวิกฤติต้องขอความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟ
.
ตามมาด้วยเกาหลีใต้ เป็นลำดับสุดท้ายที่เผชิญวิกฤตการณ์ทางการเงิน เกิดขึ้นกับเกาหลีใต้ในเดือนตุลาคม 1997 สิ่งที่เกิดขึ้นกับเกาหลีใต้ก็เหมือนกันกับที่เกิดในประเทศก่อนหน้าเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของเกาหลีใต้เกือบหมด และ S&P Global Ratings ลดระดับความน่าเชื่อถือของเกาหลีใต้ลงทำให้เงินทุนต่างประเทศไหลออกจากตลาดหลักทรัพย์ โดยที่เงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีไม่อาจยับยั้งได้ เกาหลีใต้วิเคราะห์สาเหตุของวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ว่ามาจาก 2 ปัจจัย
เกิดจากโครงสร้างหนี้ ที่มีหนี้ต่างประเทศระยะสั้นมากเกินไป และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไม่เพียงพอ สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นก็คล้ายกันกับไทย คือหนี้ต่างประเทศระยะสั้นของสถาบันการเงินเพิ่มสูงขึ้นจนเกิดปัญหาโ
ครงสร้างทางการเงินของบริษัทเอกชน โดยเฉพาะระดับ ‘แชโบล’ (กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่) ที่ลงทุนขยายกิจการอย่างรวดเร็วและไม่หยุดยั้ง โดยเลือกนโยบายการเงินที่เป็น ‘การเติบโตทางการเงินที่ติดลบ’ ทำให้อัตราส่วนหนี้ต่อทุนเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 400 ในปลายปี 1997 และบริษัทในกลุ่มแชโบล 30 แห่ง มีหนี้ต่อทุนเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 518 ซึ่งมากกว่าของภาคเอกชน ในไทยถึง 3 เท่า ดังนั้น เกาหลีใต้จึงถือว่ากลุ่มแชโบลเป็นต้นเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้
.
เมื่อเจอวิกฤติ เกาหลีใต้ก็ทำคล้ายกับประเทศที่เจอวิกฤติก่อน คือ ขอความช่วยเหลือทางการเงินจากไอเอ็มเอฟ ซึ่งไอเอ็มเอฟได้ตั้งเงื่อนไขให้รัฐบาลเกาหลีใต้ปฏิรูประบบโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อแลกกับการให้ความช่วยเหลือ
.
วิกฤติของเกาหลีใต้เกิดขึ้นทีหลังประเทศอื่น แต่การคลี่คลายไม่ได้เป็นไปตามลำดับการเผชิญวิกฤติ รัฐบาลใหม่ของเกาหลีใต้ที่มาจากการเลือกตั้งและเข้ารับตำแหน่งในต้นปี 1998 แก้ปัญหาและฟื้นฟูเศรษฐกิจได้เร็วกว่าที่คาด สิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้ฟื้นตัวก็คือการที่รัฐบา เกาหลีใต้ชำระหนี้เงินกู้คืนแก่ IMF จำนวน 3,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนธันวาคม 1998 กับมกราคม 1999
.
ในภาพรวม ผลกระทบที่เกิดขึ้นในวิกฤติคือ ปัญหาเงินเฟ้อ ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น หนี้สาธารณะพุ่งสูง ราชการต้องรัดเข็มขัด ต้องตัดงบประมาณบางส่วนไม่จำเป็นฝั่งหนี้เอกชนสูงท่วมเกินทุนและทรัพย์สินเอกชนตัดเงินค่าจ้างพนักงาน-ลูกจ้างและลดการจ้างงาน มีคนตกงานจำนวนมาก
.
ธุรกิจที่พยุงตัวเองไม่ไหวต้องล้มละลาย สถาบันการเงินมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) สูง นำมาซึ่งความเสียหายแก่สถาบันการเงิน และมันสั่นคลอนเสถียรภาพทางการเมือง ทำให้มีการเปลี่ยนรัฐบาลที่บริหารประเทศด้วย
.
ส่วนปัญหาทางด้านสังคมวิกฤตินี้ส่งผลกระทบอย่างหนักโดยตรงกับเจ้าของธุรกิจขณะที่แรงงานที่ถูกเลิกจ้าง แม้ไม่ต้องแบกหนี้หนักหนาสาหัส แต่การไม่มีงาน-ไม่มีรายได้
.
ขณะที่คนที่กำลังเติบโตเข้าสู่วัยทำงานก็ต้องเคว้งหางานทำไม่ได้ มีข้อมูลว่าในประเทศไทยมีคนว่างงานกว่า 2 ล้านคน อัตราการว่างงานที่สูงขึ้น และรายได้ต่อครัวเรือนที่ต่ำลงยิ่งทำให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ยากลำบาก ว่างงานมีหนี้สินเพิ่มขึ้น บางคนสูญเสียบ้าน สูญเสียรถ และบางคนสูญเสียชีวิตอัตราการฆ่าตัวตายสูงขึ้น เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับหนี้สิน
.
เรื่องราวในอดีตมักถูกจดจำให้เป็นบทเรียนในอนาคตอีกครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์ Covid-19 ได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างมีหลายประเทศทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ บางคนสูญเสียโอกาสด้านการเรียน ป่วยไปจนถึงขั้นเสียชีวิต.ถึงแม้จะต่างยุคต่างสมัย แต่สิ่งที่อาจจะเรียกว่าคล้ายกัน ในยุคสมัยวิกฤตการณ์การเงินในเอเชียพรากและโควิด-19 ได้พรากความฝัน พรากอนาคตของผู้คนไปมากกว่าหลายเท่า
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
Slowmist Releases October Web3 Security Incident Report
TEAMZ Web3・AI Summit 2025: Bringing Global Leaders to Tokyo
Japan’s Crypto Industry to Launch “Self-Regulation” of Stablecoins
Russia Establishes Legal Framework and Standards for Crypto Mining
0.00
Vestle
tZERO
bitbns
currency.com
FXCM
CatalX
STREAMITY
KickEX
SwissBorg
CAT.EX