ก.ล.ต. เปิดให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการ Sandbox ยื่น filling เพื่อขออนุมัติออกออกเสนอขายตราสารหนี้ผ่านระบบ Web Portal ในโครงการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล
ก.ล.ต. เปิดให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการ Sandbox ยื่น filling เพื่อขออนุมัติออกออกเสนอขายตราสารหนี้ผ่านระบบ Web Portal ในโครงการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล
การพัฒนาระบบ Web Portal ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ และพร้อมเปิดการทดสอบเพื่อให้บริการกับผู้ใช้งานจริงแล้ว โดยระบบจะเปิดให้เริ่มยื่นข้อมูลเพื่อขอออกเสนอขายตราสารหนี้ต่อ ก.ล.ต. ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ซึ่งในระยะแรกจะรองรับตราสารหนี้ทั่วไปที่มีลักษณะไม่ซับซ้อนที่ออกเสนอขายในวงจำกัดเฉพาะ
การทดสอบระบบ Web Portal ภายใต้โครงการ Sandbox ในรอบแรก มีผู้เข้าร่วมทดสอบระบบรวม 18 ราย ได้แก่
กลุ่มผู้ออกหลักทรัพย์ กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจตัวกลางทั้งบริษัทหลักทรัพย์และธนาคารพาณิชย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ สมาคมตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) และบริษัท ซีเอ็มดีเอฟ โครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล จำกัด ซึ่งเป็น main operator ของระบบ และ ก.ล.ต. จะเปิดให้ผู้ที่สนใจยื่นคำขอสมัครเข้าร่วมโครงการ Sandbox รอบที่สองในเร็ว ๆ นี้
ทั้งนี้ ระบบ Web Portal เป็นจุดเริ่มต้นของโครงการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของตลาดทุนไทย ที่ ก.ล.ต. ได้ริเริ่มตั้งแต่ปลายปี 2562 โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมเพื่อการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) ซึ่งมุ่งพัฒนากระบวนการในตลาดทุนให้เป็นดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพรวดเร็วและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ลดต้นทุนและเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงตลาดทุนของผู้ระดมทุนและผู้ลงทุน ตลอดจนช่วยให้หน่วยงานกำกับดูแลมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาธุรกิจและตลาดทุน รวมทั้งกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยโครงการพัฒนาระบบดังกล่าวยังได้ถูกบรรจุให้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาตลาดทุนไทย เรื่องการพัฒนาตลาดทุนดิจิทัล (digital transformation)
รายชื่อผู้เข้าร่วมทดสอบระบบ Web Portal ภายใต้โครงการ Sandbox มีดังนี้
กลุ่ม 1 : ผู้ออกหลักทรัพย์
1. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (เป็นผู้ออกหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจตัวกลาง)
2. ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) (เป็นผู้ออกหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจตัวกลาง)
3. บริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
4. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
5. บริษัท ปตท. สผ. ศูนย์บริหารเงิน จำกัด
6. บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
กลุ่ม 2 : ผู้ประกอบธุรกิจตัวกลางและอื่น ๆ
7. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
8. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
9. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
10. ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
11. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
12. ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
13. บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี พัฒนสิน จำกัด (มหาชน)
14. บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
15. บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
16. บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด
17. สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
กลุ่ม 3 : ผู้พัฒนาและให้บริการระบบ
18. บริษัท ซีเอ็มดีเอฟ โครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล จำกัด (บริหารจัดการโดย 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย และสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย)
อ่านข่าวสารเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikibit.com/th/original/1.html
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
0.00